กระปุกออมสิน Money Literacy

คำนวณผลตอบแทน และต้นทุนเฉลี่ย เขาทำกันอย่างไร



Mr.Messenger
สนใจติดตามข่าวสารการลงทุนได้ที่ http://twitter.com/MrMessenger

หากพูดถึงการลงทุน ก็ต้องมีการวัดผลถึงความก้าวหน้า คงไม่มีใครที่ลงทุนไปแล้วไม่อยากรู้ว่าผลตอบแทนจากการลงทุนเป็นอย่างไร เพราะหากเราไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ตรงจุดไหน เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพอร์ตการลงทุนของเราพัฒนาขึ้น หรือ ถดถอยลง เช่นเดียวกับการปฏิบัติธรรม นักภาวนาต้องมีการวัดผลจากการปฏิบัติ จะเป็นรายปี หรือรายไตรมาส ก็ตามแต่ เพื่อให้รู้ว่า เราเดินถูกทางหรือไม่ เราพัฒนาขึ้นหรือเปล่า

ส่วนตัวแล้ว ผมวัดความคืบหน้าการปฏิบัติจากการสังเกตเปรียบเทียบกับในอดีตว่าเป็นอย่างไร เอากรรมเก่าเป็นที่ตั้ง แล้วพยายามทำกรรมใหม่ให้ดีกว่าเดิม แต่สำหรับผู้ซึ่งไม่คุ้นเคยกับการวัดผล อาจจะหลงวัดผลการปฏิบัติของตนเองด้วยการเปรียบเทียบกับผู้อื่น ต้องระวังนะครับ เพราะอาจจะกลายเป็นชิงดีชิงเด่นกันไป ยุ่งเลย

สาเหตุที่เราคุ้นเคยกับการเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่นนั้นเป็นเรื่องปกติในปุถุชนทั่วไปที่มีการแข่งขันกันอยู่ ไม่เว้นแม้แต่ในการลงทุนหรอกครับ ผู้จัดการกองทุน (Fund Manager) ก็ถูกเปรียบเทียบว่าใครเก่งกว่าใคร ด้วยผลการดำเนินงานย้อนหลังเปรียบเทียบกัน หุ้นตัวไหน ดีกว่าหุ้นตัวไหน ถูกเปรียบเทียบด้วยผลตอบแทนที่ดีกว่า ไม่ว่าจะเกิดจากกำไรส่วนต่าง หรือจะเป็นเงินปันผลก็ตามแต่ ตัวเราซึ่งถือเป็นนักลงทุนคนหนึ่ง ก็คงจะเปรียบเทียบว่าเรายืนอยู่ตรงไหนในตารางการแข่งขัน ด้วยผลตอบแทนจากการลงทุนของเราเอง เทียบกับนักลงทุนคนอื่น (ว่าแต่ใครเขาจะมาบอกเราล่ะ จริงไหม) ดังนั้นในเบื้องต้นในหลักการง่ายๆ ไม่ต้องไม่สนใจว่าใครเขาจะเก่งกว่าเรา ที่เราต้องสนใจคือ เราทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือเปล่า

เป้าหมายของการลงทุนที่ผมแนะนำว่านักลงทุนควรมีไว้ตั้งแต่เริ่มลงทุนก็คือ อัตราผลตอบแทนคาดหวังจากการลงทุน ยกตัวอย่างเช่น ผมต้องการลงทุนในหุ้น ABC ระยะเวลา ๒ ปี คาดหวังผลตอบแทนไว้ที่ ร้อยละ๑๐ ต่อปี หากลงทุนจริงแล้วขายหุ้นเมื่อราคาปรับตัวสูงขึ้น ผมอยากรู้ว่าผมได้ผลตอบแทนจากการลงทุนเท่าไหร่ ก็ใช้วิธีคำนวณง่ายๆตามนี้ครับ

ผลตอบแทนจากการลงทุน = (ราคาขาย ราคาซื้อ) / ราคาซื้อ

ยกตัวอย่างเช่น ซื้อหุ้น ABC ที่ราคา ๑๐ บาท ขายที่ราคา ๑๑ บาท

ผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้น ABC = (๑๑๑๐) / ๑๐

= ๐.๑ หรือ ร้อยละ ๑๐ นั้นเอง

ตัวอย่างแรก ผมซื้อหุ้น ABC แค่ครั้งเดียว จึงมีวิธีการคำนวณไม่ยาก แต่สมมตินะครับ ว่าผมซื้อหุ้น ABC ไปทั้งหมด ๔ ครั้ง และจำนวนเงินลงทุนแต่ละครั้งไม่เท่ากัน วิธีการคิดต้นทุนเฉลี่ยของหุ้น ABC ที่ผมซื้อก็จะซับซ้อนขึ้นนิดหน่อยตามนี้

037_money

นำผลรวมของจำนวนเงินที่ลงทุนไปทั้งหมด ๔ ครั้ง มาหารกับ จำนวนหุ้นที่ได้มาทั้งหมด เราก็จะได้ต้นทุนเฉลี่ยจากการลงทุนในหุ้น ABC รวม ๔ ครั้งครับ ในที่นี้ก็คือ ๓๐๐,๒๘๐ / ๓๐,๔๐๐ = .๘๗๗๖ บาท นั้นเอง

ถ้าผมขายที่ราคา ๑๑ บาทเท่าเดิม ก็คำนวณผลตอบแทนได้ตามสูตรเดิมคือ

= (๑๑.๘๗๗๖) /.๘๗๗๖

= 0.๑๑๒ หรือ ร้อยละ ๑๑.๒ นั้นเอง

วิธีคำนวณผลตอบแทนนี้ สามารถใช้ได้ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นการลงทุนในตลาดหุ้นอย่างเดียวนะครับ จะซื้อทองคำแท่ง หรือที่ดิน ก็ทำได้เหมือนกัน แต่คราวนี้ เพิ่มความยากขึ้นไปอีกนิดหนึ่ง วิธีการคำนวณผลตอบแทนข้างต้นเป็นผลตอบแทนต่อจำนวนเงินลงทุนของเราเท่านั้น แต่จะเห็นว่าผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เสี่ยงต่ำเช่น เงินฝาก ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตราสารหนี้ จะประกาศผลตอบแทนออกมาเป็นร้อยละต่อปี ถ้าเราลงทุนไม่ถึง ๑ ปี แล้วคำนวณผลตอบแทนเป็นต่อปี ก็สามารถทำได้ตามนี้ครับ

ผลตอบแทนจากการลงทุนต่อปี = [(ราคาขาย ราคาซื้อ) / ราคาซื้อ] x ๓๖๕ วัน / จำนวนวันที่ลงทุน

ข้อควรระวังก็คือ การวัดผลตอบแทนการลงทุนต่อปีแบบนี้ ไม่แนะนำให้ใช้กับการลงทุนในหุ้นหรือกองทุนหุ้นที่มีระยะเวลาการลงทุนต่ำกว่า ๑ ปีนะครับ ยกตัวอย่างเช่น ผมลงทุนในหุ้น XYZ ไป ๓ เดือน ได้ผลตอบแทนร้อยละ ๑๐ หรือ ๑๐% ต่อเงินต้น หากผมใช้วิธีการคำนวณเพื่อหาเป็นอัตราผลตอบแทนต่อปี จะกลายเป็นว่า ผมได้ผลตอบแทน = ๑๐% x ๓๖๕ วัน/ ๙๐ วัน ซึ่งได้เท่ากับ ๔๐.๕๕% ต่อปี ซึ่งถือว่าสูงเกินจริง เพราะราคาหุ้นหรือกองทุนหุ้น ไม่ได้วิ่งไต่ขึ้นเป็นเส้นตรงไปตลอดทาง แต่มีความผันผวนขึ้นลงตามข่าวและกลไกตลาดครับ ดังนั้นวิธีการคำนวณอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเป็นแบบต่อปี จึงใช้กับการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำเท่านั้น

ทีนี้ก็รู้วิธีการคำนวณผลตอบแทน และต้นทุนเฉลี่ยกันแล้วนะครับ ไม่ได้ยากอย่างที่คิด และทำให้เราสามารถวางแผนทางการเงินได้ดีขึ้น ว่าควรปรับเปลี่ยนกลยุทธ์อย่างไร หากผลตอบแทนที่เราทำได้ เป็นไปตามเป้าหมาย หรือเมื่อพลาดเป้าไป ก็จะรู้ตัว ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นเรื่องของโชคชะตาฟ้าลิขิตไป

ลองมองในอีกมุมหนึ่ง การสังเกตจิตใจของเราที่เปลี่ยนไป ว่ารู้สึกตัวบ่อยขึ้นมากหรือน้อยลง นั้นก็คือการวัดผลการดำเนินงานในทางธรรม หากเรามองว่าการปฏิบัติธรรม การดูจิตไม่ใช่เรื่องจริงจังที่จะต้องทำ ทำได้เท่าไหร่ก็เอาเท่านั้น ก็เท่ากับเรากำลังปล่อยให้เป็นเรื่องของโชคชะตาฟ้าลิขิต แต่หากพยายามสังเกตทุกๆวัน วัดผลการปฏิบัติแบบวันต่อวัน นั้นก็ถือว่าจริงจังเกินไป จะวัดผลทั้งที เอาช่วงเวลาให้พอดี ไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไปนะครับ

โชคดีในการลงทุนครับ



แบ่งปันบทความนี้ให้เพื่อนๆ
Facebook! Twitter! Del.icio.us! Free and Open Source Software News Google! Live! Joomla Free PHP