จากใจ บ.ก.ใกล้ตัว Lite Talk

ฉบับที่ ๒๙๔ ต่อเวร หรือ ตัดเวร



294-1 talk


หลักกรรมและวิบากแบบพุทธ
สอนเราว่า ทางชีวิตมีอยู่สองแบบ
แบบแรก คือ ทางบังคับ
เป็นทางที่วิบากจากกรรมเก่า
ขีดเส้นไว้ตายตัว หลีกเลี่ยงไม่ได้
เช่น เกิดกับพ่อแม่แบบไหน
อยู่ในสภาพแวดล้อมอย่างไรตอนเด็ก
เราเลือกไม่ได้ กรรมเก่าเท่านั้นเลือกให้

แบบที่สอง คือ ทางเลือก
เป็นทางที่วิบากจากกรรมเก่า
แยกไว้ให้คิดเอาเองว่า
จะเดินหน้า เลี้ยวซ้าย หรือเลี้ยวขวา
เช่น ชะตาขีดให้เจอใครเข้ามาทำร้าย
เจ็บใจแล้วจะเลือกทางเลิกเวรหรือต่อเวร
อันนี้การเลือกจะถือเป็นกรรมใหม่


เมื่อพบพุทธศาสนา
เท่ากับพบ ‘วิธีเลือกทาง’
คือ กำหนดนโยบายทางใจไว้ล่วงหน้าเลยว่า
ให้ดูป้ายบอกตอนจะเลี้ยวว่า
เป็นเลี้ยวเพื่อ ‘ต่อเวร’ หรือ ‘ตัดเวร’
ป้ายเหล่านั้นไม่ได้เขียนเป็นคำบอก
แต่ปรากฏเป็นนิมิตหมายให้รู้ด้วยใจ


ต่อเวร
ใจจะเห็นนิมิตการกระทำเพื่อเอาคืน
ตัดเวร
ใจจะเห็นนิมิตการกระทำเพื่อเลิกแล้วต่อกัน


เมื่อเจอทางเลือกที่จะตัดเวร
แล้วเลือกได้ทันทีโดยไม่ลังเล
เลิกแล่นไปตามแรงอาฆาต
คุณจะรู้ว่า ตัวเองมีนโยบาย
เลือกทางแบบพุทธแน่แล้ว
คุณอยู่บนเส้นทางพ้นทุกข์กับท่านแล้ว
ใครหลายคนจะหายไปจากชีวิตคุณ
ไม่ตามคุณไปบนเส้นทาง
ที่คุณเลือกแล้วว่าดีจริง!




ดังตฤณ
ตุลาคม ๒๕๖๓





review


พระพุทธองค์ทรงวิสัชนาธรรมแก่พราหมณ์ ๒ คน
ที่กำลังทะเลาะกันว่าใครเป็นผู้ได้รู้เห็นโลกอันไม่มีที่สุด
รายละเอียดติดตามได้ในคอลัมน์"ธรรมะจากพระสูตร"
ตอน"พราหมณสูตร ว่าด้วยตรัสการถึงที่สุดโลกแก่พราหมณ์"


หากปรารถนาจะทำบุญกับพระสุปฏิปันโน
หรือพระสงฆ์ที่เพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติ จะมีวิธีสังเกตได้อย่างไร
หาคำตอบได้จากวิสัชนาธรรม โดยหลวงปู่หล้า เขมปตฺโต
ในคอลัมน์"สารส่องใจ"ตอน"มีวิธีสังเกตหรือไม่ว่าพระสงฆ์รูปใดเป็นพระที่ดี"


สิ่งใดที่บอกได้ว่าเราได้เจริญสติมาเพียงพอแล้วในแต่ละวัน
และทำอย่างไรจึงจะมีกำลังใจที่จะตามรู้ตามดูต่อไปเรื่อยๆ
ติดตามคำตอบได้ในคอลัมน์"ดังตฤณวิสัชนา"
ตอน"จะทราบได้อย่างไรว่าตนเองปฏิบัติธรรมในแต่ละวันมามากพอแล้ว"


แบ่งปันบทความนี้ให้เพื่อนๆ
Facebook! Twitter! Del.icio.us! Free and Open Source Software News Google! Live! Joomla Free PHP