ธรรมะจากพระสูตร Dhamma from Sutta

จูฬสีหนาทสูตร ว่าด้วยการบันลือสีหนาท



กลุ่มไตรปิฎกสิกขา

[๑๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
ใกล้กรุงสาวัตถี.
ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย.”
ภิกษุเหล่านั้นได้ทูลรับสนองพระพุทธพจน์แล้ว
.


สมณะ จำพวก

[๑๕๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย
สมณะมีในพระศาสนานี้เท่านั้น สมณะที่ ๒ มีในพระศาสนานี้
สมณะที่ ๓ มีในพระศาสนานี้
สมณะที่ ๔ มีในพระศาสนานี้
ลัทธิของศาสดาอื่นว่างเปล่าจากพระสมณะผู้รู้ทั่วถึง

ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจงบันลือสีหนาทโดยชอบอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ทีเดียว.
ภิกษุทั้งหลาย
ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ในโลกนี้
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
อะไรเป็นความมั่นใจของพวกท่าน อะไรเป็นกำลังของพวกท่าน
พวกท่านพิจารณาเห็นในตนด้วยประการไร
จึงกล่าวอย่างนี้ว่า
สมณะมีในพระศาสนานี้เท่านั้น
สมณะที่ ๒ มีในพระศาสนานี้
สมณะที่ ๓ มีในพระศาสนานี้
สมณะที่ ๔ มีในพระศาสนานี้
ลัทธิของศาสดาอื่นว่างเปล่าจากพระสมณะผู้รู้ทั่วถึง.


ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงกล่าวตอบปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนั้นอย่างนี้ว่า
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มีธรรม
ประการอันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแล้ว
ที่พวกเราเห็นว่ามีอยู่ในตน
จึงกล่าวอย่างนี้ว่า
สมณะมีในพระศาสนานี้เท่านั้น สมณะที่ ๒ มีในพระศาสนานี้
สมณะที่ ๓ มีในพระศาสนานี้
สมณะที่ ๔ มีในพระศาสนานี้
ลัทธิของศาสดาอื่นว่างเปล่าจากพระสมณะผู้รู้ทั่วถึง.
ธรรม
อย่างเป็นไฉน? อย่าง คือ ความเลื่อมใสในพระศาสดาของพวกเรามีอยู่
ความเลื่อมใสในพระธรรมมีอยู่
ความทำให้บริบูรณ์ในศีลมีอยู่
ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน

เป็นที่รัก
เป็นที่พอใจมีอยู่ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ธรรม
๔ ประการเหล่านั้นแล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแล้ว
ที่พวกเราเล็งเห็นว่ามีอยู่ในตน
จึงกล่าวอย่างนี้
สมณะมีในพระศาสนานี้เท่านั้น สมณะที่ ๒ มีในพระศาสนานี้
สมณะที่ ๓ มีในพระศาสนานี้
สมณะที่ ๔ มีในพระศาสนานี้
ลัทธิของศาสดาอื่นว่างเปล่าจากพระสมณะผู้รู้ทั่วถึง
.

ภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
ผู้มีอายุ
ผู้ใดเป็นศาสดาของพวกเรา แม้พวกเราก็มีความเลื่อมใสในศาสดานั้น
คำสอนใดเป็นธรรมของพวกเรา
แม้พวกเราก็มีความเลื่อมใสในธรรมนั้น
ข้อใดเป็นศีลของพวกเรา
แม้พวกเราก็ทำให้บริบูรณ์ในศีลนั้น
แม้ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน
ก็เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของพวกเรา
ผู้มีอายุ ในข้อนี้ มีข้อแตกต่างกันอย่างไร มีความมุ่งหมายอย่างไร
มีการทำต่างกันอย่างไรระหว่างพวกท่านและพวกเรา
?

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์มีวาทะอย่างนี้
พวกเธอพึงกล่าวตอบอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ
จุดมุ่งหมายมีอย่างเดียว หรือมีมากอย่าง.
ภิกษุทั้งหลาย
พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะตอบให้ถูกต้อง ต้องตอบอย่างนี้ว่า
จุดมุ่งหมายมีอย่างเดียวเท่านั้น
ไม่มีมากอย่าง.
พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
ผู้มีอายุ ก็จุดมุ่งหมายนั้นเป็นของผู้มีราคะหรือของผู้ปราศจากราคะ.
ภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์
เมื่อจะตอบให้ถูกต้อง ต้องตอบอย่างนี้ว่า
จุดมุ่งหมายนั้นเป็นของผู้ปราศจากราคะ มิใช่ของผู้มีราคะ
.
พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
จุดมุ่งหมายนั้น เป็นของผู้มีโทสะหรือของผู้ปราศจากโทสะ.
ภิกษุทั้งหลาย
พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะตอบให้ถูกต้อง ต้องตอบอย่างนี้ว่า
จุดมุ่งหมายนั้นเป็นของผู้ปราศจากโทสะ
มิใช่ของผู้มีโทสะ.
พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
จุดมุ่งหมายนั้นเป็นของผู้มีโมหะหรือของผู้ปราศจากโมหะ.
ภิกษุทั้งหลาย
พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะตอบให้ถูกต้อง ต้องตอบอย่างนี้ว่า
จุดมุ่งหมายนั้นเป็นของผู้ปราศจากโมหะ
มิใช่ของผู้มีโมหะ.
พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
จุดมุ่งหมายนั้นเป็นของผู้มีตัณหาหรือของผู้ปราศจากตัณหา.
ภิกษุทั้งหลาย
พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะตอบให้ถูกต้อง ต้องตอบอย่างนี้ว่า
จุดมุ่งหมายนั้นเป็นของผู้ปราศจากตัณหา
มิใช่ของผู้มีตัณหา.
พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
จุดมุ่งหมายนั้นเป็นของผู้มีอุปาทานหรือของผู้ไม่มีอุปาทาน.
ภิกษุทั้งหลาย
พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะตอบให้ถูกต้อง ต้องตอบอย่างนี้ว่า
จุดมุ่งหมายนั้นเป็นของผู้ไม่มีอุปาทาน
มิใช่ของผู้มีอุปาทาน.
พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
จุดมุ่งหมายนั้นเป็นของผู้รู้แจ้งหรือของผู้ไม่รู้แจ้ง.
ภิกษุทั้งหลาย
พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะตอบให้ถูกต้อง ต้องตอบอย่างนี้ว่า
จุดมุ่งหมายนั้นเป็นของผู้รู้แจ้ง
มิใช่ของผู้ไม่รู้แจ้ง.
พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
จุดมุ่งหมายนั้นเป็นของผู้ยินดียินร้าย หรือของผู้ไม่ยินดียินร้าย.
ภิกษุทั้งหลาย
พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะตอบให้ถูกต้อง ต้องตอบอย่างนี้ว่า
จุดมุ่งหมายนั้นเป็นของผู้ไม่ยินดียินร้าย
มิใช่ของผู้ยินดียินร้าย.
พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
จุดมุ่งหมายนั้นเป็นของผู้ยินดีในความเนิ่นช้า
มีความเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี
หรือของผู้ยินดีในความไม่เนิ่นช้า มีความไม่เนิ่นช้าเป็นที่มายินดี.
ภิกษุทั้งหลาย
พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะตอบให้ถูกต้อง ต้องตอบอย่างนี้ว่า
จุดมุ่งหมายนั้นเป็นของผู้ยินดีในความไม่เนิ่นช้า
มีความไม่เนิ่นช้าเป็นที่มายินดี
มิใช่ของผู้ยินดีในความเนิ่นช้า
มีความเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี.


ทิฏฐิ

[๑๕๕] ภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิ อย่างเหล่านี้ คือ ภวทิฏฐิ และวิภวทิฏฐิ.
ภิกษุทั้งหลาย
ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เป็นผู้ยึดติดภวทิฏฐิ เข้าถึงภวทิฏฐิ หยั่งลงสู่ภวทิฏฐิ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ยินร้ายต่อวิภวทิฏฐิ
.
ภิกษุทั้งหลาย
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเป็นผู้ยึดติดวิภวทิฏฐิ เข้าถึงวิภวทิฏฐิ หยั่งลงสู่วิภวทิฏฐิ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ยินร้ายต่อภวทิฏฐิ
.
ภิกษุทั้งหลาย
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดไม่รู้ชัดถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และการหลุดพ้นจากทิฏฐิ
อย่างเหล่านี้ ตามความเป็นจริง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
เป็นผู้ยังมีราคะ ยังมีโทสะ ยังมีโมหะ ยังมีตัณหา ยังมีอุปาทาน
ไม่ใช่ผู้รู้แจ้ง
ยังยินดียินร้าย เป็นผู้ยินดีในความเนิ่นช้า มีความเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี
พวกเขาจึงไม่หลุดพ้นจากชาติ
ชรา มรณะ ความโศก ความคร่ำครวญ
ความทุกข์กาย
ความทุกข์ใจ และความแค้นใจ เรากล่าวว่า เขาไม่หลุดพ้นไปจากทุกข์.
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดรู้ชัดถึงความเกิด ความดับ
คุณ โทษ
และการหลุดพ้นจากทิฏฐิ
อย่างเหล่านี้ ตามความเป็นจริง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้ปราศจากราคะ
ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ
ปราศจากตัณหา
ปราศจากอุปาทาน เป็นผู้รู้แจ้ง เป็นผู้ไม่ยินดียินร้าย
มีความยินดีในความไม่เนิ่นช้า
มีความไม่เนิ่นช้าเป็นที่มายินดี
พวกเขาจึงหลุดพ้นจากชาติ
ชรา มรณะ ความโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย
ความทุกข์ใจ
และความแค้นใจ เรากล่าวว่า เขาหลุดพ้นไปจากทุกข์.


อุปาทาน

[๑๕๖] ภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน อย่างเหล่านี้.
อย่างเป็นไฉน? คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน.
ภิกษุทั้งหลาย
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง
แต่พวกเขาไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ

คือบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน

ไม่บัญญัติความรอบรู้สีลัพพตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
?
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นรู้ไม่ทั่วถึงฐานะ
ประการเหล่านี้ตามความเป็นจริง
เพราะฉะนั้น
พวกเขาจึงมีลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง
แต่พวกเขาไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ

บัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้สีลัพพตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน.
ภิกษุทั้งหลาย
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง
แต่พวกเขาไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ

บัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้สีลัพพตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
?
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่รู้ทั่วถึงฐานะ
ประการเหล่านี้ตามความเป็นจริง
เพราะฉะนั้น
พวกเขาจึงปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง
แต่พวกเขาไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ
คือบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้สีลัพพตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน.
ภิกษุทั้งหลาย
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง
แต่พวกเขาไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ

คือบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน
. บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้สีลัพพตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
?
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่รู้ทั่วถึงฐานะอย่างหนึ่งนี้

เพราะฉะนั้น
พวกเขาจึงปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง
แต่พวกเขาไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ

คือบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้สีลัพพตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรู้อัตตวาทุปาทาน.
ภิกษุทั้งหลาย
ความเลื่อมใสใดในศาสดา
ความเลื่อมใสนั้น
เราไม่กล่าวว่า ดำเนินไปชอบ (สมบูรณ์)
ความเลื่อมใสใดในธรรม
ความเลื่อมใสนั้นเราไม่กล่าวว่า ดำเนินไปชอบ
ความทำให้บริบูรณ์ใดในศีล
ข้อนั้นเราไม่กล่าวว่าดำเนินไปชอบ
ความเป็นที่รักและน่าพอใจใดในหมู่สหธรรมิก ข้อนั้นเราไม่กล่าวว่า ดำเนินไปชอบ

ในธรรมวินัยเห็นปานนี้แล
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
ภิกษุทั้งหลาย
เพราะข้อนั้นเป็นความเลื่อมใสในธรรมวินัยที่ศาสดากล่าวไว้ผิด
ประกาศไว้ผิด
มิใช่สภาพนำออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามิได้ทรงประกาศไว้
.

[๑๕๗] ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นแล
เป็นผู้มีวาทะรอบรู้อุปาทานทุกอย่าง
ปฏิญาณอยู่
ย่อมบัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ

คือ
ย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน ย่อมบัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน
ย่อมบัญญัติความรอบรู้สีลัพพตุปาทาน
ย่อมบัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน.
ภิกษุทั้งหลาย
ความเลื่อมใสใดในศาสดา
ความเลื่อมใสนั้น
เรากล่าวว่าดำเนินไปชอบ (สมบูรณ์)
ความเลื่อมใสใดในธรรม
ความเลื่อมใสนั้น เรากล่าวว่าดำเนินไปชอบ
ความทำให้บริบูรณ์ใดในศีล
ข้อนั้นเรากล่าวว่าดำเนินไปชอบ
ความเป็นที่รักและน่าพอใจใดในหมู่สหธรรมิก
ข้อนั้นเรากล่าวว่า ดำเนินไปชอบ
ในพระธรรมวินัยเห็นปานนี้แล
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
ภิกษุทั้งหลาย
เพราะข้อนั้นเป็นความเลื่อมใสในธรรมวินัยที่ศาสดากล่าวไว้ถูกต้อง
ประกาศไว้ถูกต้อง
เป็นสภาพนำออกจากทุกข์ เป็นไปเพื่อความสงบ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศไว้
.


ตัณหาเป็นเหตุเกิดอุปาทาน

[๑๕๘] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง อุปาทาน เหล่านี้ มีอะไรเป็นต้นเหตุ
มีอะไรเป็นเหตุเกิด
มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด?
อุปาทาน
เหล่านี้ มีตัณหาเป็นต้นเหตุ มีตัณหาเป็นเหตุเกิด มีตัณหาเป็นกำเนิด
มีตัณหาเป็นแดนเกิด
.
ภิกษุทั้งหลาย
ตัณหานี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด?
ตัณหามีเวทนาเป็นต้นเหตุ
มีเวทนาเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็นกำเนิด มีเวทนาเป็นแดนเกิด.
ภิกษุทั้งหลาย
เวทนานี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด
?
เวทนามีผัสสะเป็นต้นเหตุ
มีผัสสะเป็นเหตุเกิด มีผัสสะเป็นกำเนิด มีผัสสะเป็นแดนเกิด.
ภิกษุทั้งหลาย
ผัสสะนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด
?
ผัสสะมีสฬายตนะเป็นต้นเหตุ
มีสฬายตนะเป็นเหตุเกิด มีสฬายตนะเป็นกำเนิด
มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด
.
ภิกษุทั้งหลาย
สฬายตนะนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด
?
สฬายตนะมีนามรูปเป็นต้นเหตุ
มีนามรูปเป็นเหตุเกิด มีนามรูปเป็นกำเนิด มีนามรูปเป็นแดนเกิด.
ภิกษุทั้งหลายนามรูปนี้เล่ามีอะไรเป็นต้นเหตุ
มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด
?
นามรูปมีวิญญาณเป็นต้นเหตุ
มีวิญญาณเป็นเหตุเกิด มีวิญญาณเป็นกำเนิด มีวิญญาณเป็นแดนเกิด.
ภิกษุทั้งหลาย
วิญญาณนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด
?
วิญญาณมีสังขารเป็นต้นเหตุ
มีสังขารเป็นเหตุเกิด มีสังขารเป็นกำเนิด มีสังขารเป็นแดนเกิด.
ภิกษุทั้งหลาย
สังขารนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด?
สังขารมีอวิชชาเป็นต้นเหตุ
มีอวิชชาเป็นเหตุเกิด มีอวิชชาเป็นกำเนิด มีอวิชชาเป็นแดนเกิด.
ภิกษุทั้งหลาย
ก็เมื่อใดแล ภิกษุละอวิชชาได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
เมื่อนั้น
ภิกษุนั้นเพราะสำรอกอวิชชาเสียได้ เพราะวิชชาบังเกิดขึ้น
ไม่ถือมั่นกามุปาทาน
ย่อม ไม่ถือมั่นทิฏฐุปาทาน ไม่ถือมั่นสีลัพพตุปาทาน
ไม่ถือมั่นอัตตวาทุปาทาน
เมื่อไม่ถือมั่น
ย่อมไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนนั่นเอง

เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป.


พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชม ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล
.


จูฬสีหนาทสูตรที่ ๑ จบ


(จูฬสีหนาทสูตร พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ ๑๘)



แบ่งปันบทความนี้ให้เพื่อนๆ
Facebook! Twitter! Del.icio.us! Free and Open Source Software News Google! Live! Joomla Free PHP