ธรรมะจากพระสูตร Dhamma from Sutta

ยมกสูตร ว่าด้วยพระขีณาสพตายแล้วสูญหรือไม่



กลุ่มไตรปิฎกสิกขา

[๑๙๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร อยู่ที่พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี
ก็โดยสมัยนั้นแล ยมกภิกษุเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า
เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วว่า
พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก
ภิกษุหลายรูป ได้ฟังแล้วว่า ได้ยินว่า ยมกภิกษุเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า
เรารู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วว่า
พระขีณาสพ เมื่อตายไปแล้วย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงพากันเข้าไปหาท่านยมกภิกษุถึงที่อยู่
ได้สนทนาปราศรัยกับท่านยมกภิกษุ ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัยชวนให้ระลึกถึงกันไปแล้ว
จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วจึงถามท่านยมกภิกษุว่า
ท่านยมกะ ทราบว่า ท่านเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า
เรารู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วว่า
พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้วย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก จริงหรือ
?
ท่านยมกะกล่าวว่า อย่างนั้นอาวุโส
.

ภิ. อาวุโสยมกะ ท่านอย่าได้พูดอย่างนั้น อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า
การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่พึงตรัสอย่างนี้ว่า
พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก
.

ท่านยมกะ เมื่อถูกภิกษุเหล่านั้นกล่าวแม้อย่างนี้
ยังขืนกล่าวยึดทิฏฐิอันชั่วช้านั้นอย่างหนักแน่นอย่างนั้นว่า
เรารู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วว่า
พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก
.

ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจเพื่อจะทำท่านยมกะ ให้ถอนทิฏฐิอันชั่วช้านั้นได้
จึงลุกจากอาสนะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรจนถึงที่อยู่
ครั้นแล้วจึงกล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า
ข้าแต่ท่านสารีบุตร ยมกภิกษุเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า
เรารู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วว่า
พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก
ขอโอกาสนิมนต์ท่านพระสารีบุตรไปหายมกภิกษุถึงที่อยู่เพื่ออนุเคราะห์เถิด
ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
.

[๑๙๙] ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักแล้ว
เข้าไปหาท่านยมกะถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยกับท่านยมกะ
ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว
จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ถามท่านยมกะว่า
อาวุโสยมกะ ทราบว่าท่านเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า
เรารู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วว่า
พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก ดังนี้ จริงหรือ
?
ท่านยมกะตอบว่า อย่างนั้นแลท่านสารีบุตร
.

สา. ท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
. ไม่เที่ยง ท่าน ฯลฯ.
สา เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
. ไม่เที่ยง ท่าน ฯลฯ.
สา เพราะเหตุนี้นั้นแล ยมกะ พระอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก
.

[๒๐๐] สา. ท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเห็นรูปว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา
. ท่านเห็นเวทนาว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา
. ท่านเห็นสัญญาว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา
. ท่านเห็นสังขารว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา
. ท่านเห็นวิญญาณว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

[๒๐๑] สา. ท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในรูปหรือ?
. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา
. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลต่างหากจากรูปหรือ?
. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา
. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในเวทนาหรือ?
. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา
. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลต่างหากจากเวทนาหรือ?
. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา
. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในสัญญาหรือ?
. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา
. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลต่างหากจากสัญญาหรือ?
. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา
. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในสังขารหรือ?
. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา
. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลต่างหากจากสังขารหรือ?
. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา
. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในวิญญาณหรือ?
. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา
. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลต่างหากจากวิญญาณหรือ?
. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

[๒๐๒] สา. ท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ท่านเห็นรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ว่าเป็นสัตว์บุคคลหรือ
?
. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

[๒๐๓] สา. ท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ท่านเห็นว่า สัตว์บุคคลนี้นั้นไม่มีรูป ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร ไม่มีวิญญาณหรือ
?
. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
สา
. ท่านยมกะ ก็โดยที่จริง โดยที่แท้ ท่านจะค้นหาสัตว์บุคคลในขันธ์ ๕ เหล่านี้ในปัจจุบันไม่ได้เลย
ควรแลหรือที่ท่านจะยืนยันว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วว่า
พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก
.
. ข้าแต่ท่านสารีบุตร เมื่อก่อนผมไม่รู้อย่างนี้ จึงได้เกิดทิฏฐิอันชั่วช้าอย่างนั้น
แต่เดี๋ยวนี้ผมละทิฏฐิอันชั่วช้านั้นได้แล้ว และผมก็ได้บรรลุธรรมแล้ว
เพราะฟังธรรมเทศนานี้ของท่านพระสารีบุตร
.

[๒๐๔] สา. ท่านยมกะ ถ้าชนทั้งหลายพึงถามท่านอย่างนี้ว่า
ท่านยมกะ ภิกษุผู้ที่เป็นพระอรหันตขีณาสพ เมื่อตายไปแล้วย่อมเป็นอะไร
ท่านถูกถามอย่างนั้นจะพึงกล่าวแก้ว่าอย่างไร
?
. ข้าแต่ท่านสารีบุตร ถ้าเขาถามอย่างนั้น. ผมพึงกล่าวแก้อย่างนี้ว่า
รูปแลไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไปแล้ว
ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้ เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไปแล้ว ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้
.
ข้าแต่ท่านสารีบุตร ผมถูกเขาถามอย่างนั้น พึงกล่าวแก้อย่างนี้
.

[๒๐๕] สา. ดีละ ๆ ยมกะ ถ้าอย่างนั้น เราจักอุปมาให้ท่านฟังเพื่อหยั่งรู้ความข้อนั้นให้ยิ่ง ๆ ขึ้น.
ท่านยมกะ เปรียบเหมือนคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดีผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
และเขารักษาตัวกวดขัน เกิดมีบุรุษคนหนึ่งประสงค์ความพินาศ
ประสงค์ความไม่เป็นประโยชน์ ประสงค์ความไม่ปลอดภัย อยากจะปลงชีวิตเขาเสีย
เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า คฤหบดีและบุตรคฤหบดีนี้ เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก
มีโภคะมาก และเขามีการรักษาอย่างกวดขัน
การที่จะอุกอาจปลงชีวิตนี้ไม่ใช่เป็นการทำได้ง่ายเลย อย่ากระนั้นเลย เราพึงใช้อุบายปลงชีวิต
บุรุษนั้นพึงเข้าไปหาคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้นแล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
ผมขอเป็นคนรับใช้ท่าน คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้นพึงรับบุรุษนั้นไว้ใช้
เขาพึงรับใช้เรียบร้อยดีทุกประการ คือ มีปกติตื่นก่อน นอนทีหลัง คอยฟังคำสั่ง
ประพฤติให้เป็นที่พอใจ กล่าวแต่วาจาเป็นที่รักใคร่
คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้นเชื่อเขาโดยความเป็นมิตร โดยความเป็นสหาย
และถึงความไว้วางใจในเขา
. เมื่อใดบุรุษนั้นพึงคิดว่า คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีไว้ใจเราดีแล้ว
เมื่อนั้นบุรุษนั้นรู้ว่า คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีอยู่ในที่ลับ พึงปลงชีวิตเสียด้วยศัสตราอันคม
.
ท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
?
ในกาลใด บุรุษนั้นเข้าไปหาคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีโน้น แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ผมขอรับใช้ท่าน
แม้ในกาลนั้น เขาก็ชื่อว่าเป็นผู้ฆ่าอยู่แล้ว
ก็แต่คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้นหารู้จักบุรุษผู้ฆ่าว่า เป็นผู้ฆ่าเราไม่
ในกาลใด บุรุษนั้นตื่นก่อน นอนทีหลัง คอยฟังคำสั่ง ประพฤติให้เป็นที่พอใจ
กล่าวแต่วาจาเป็นที่รักใคร่ แม้ในกาลนั้น เขาก็ชื่อว่าเป็นผู้ฆ่าอยู่แล้ว
ก็แต่คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้นหารู้จักบุรุษผู้ฆ่านั้นว่า เป็นผู้ฆ่าเราไม่
และในกาลใด บุรุษนั้นรู้ว่า คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้นอยู่ในที่ลับ
จึงปลงชีวิตเสียด้วยศัสตราอันคม แม้ในกาลนั้นเขาเป็นผู้ฆ่านั่นเอง

ก็แต่คฤหบดี หรือบุตรคฤหบดีนั้นหารู้จักบุรุษนั้นว่าเป็นผู้ฆ่าเราไม่หรือ.
. อย่างนั้น ท่าน.

[๒๐๖] สา. ท่านยมกะ ข้ออุปมานี้ฉันใด ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย
ไม่ฉลาดในอริยธรรม ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม ไม่ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย
ไม่ฉลาดในสัปปุริสธรรม ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ย่อมเห็นอัตตามีรูป ย่อมเห็นรูปในอัตตา หรือย่อมเห็นอัตตาในรูป
ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา
ย่อมเห็นอัตตามีวิญญาณ ย่อมเห็นวิญญาณในอัตตา หรือย่อมเห็นอัตตาในวิญญาณ
เขาย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง
ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นทุกข์ว่า เป็นทุกข์
ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นอนัตตาว่า เป็นอนัตตา
ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่งว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง
ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นผู้ฆ่า ว่าเป็นผู้ฆ่า
เขาย่อมเข้าไปถือมั่น ยึดมั่นซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่า เป็นตัวตนของเรา
อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ อันปุถุชนนั้นเข้าไปถือมั่น ยืดมั่นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน
.

[๒๐๗] ท่านยมกะ ส่วนพระอริยสาวกผู้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย
ฉลาดในอริยธรรม ได้รับแนะนำในอริยธรรมดีแล้ว ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย
ฉลาดในสัปปุริสธรรม ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรมดีแล้ว
ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ย่อมไม่เห็นอัตตามีรูป ย่อมไม่เห็นรูปในอัตตา
หรือย่อมไม่เห็นอัตตาในรูป ย่อมไม่เห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
ย่อมไม่เห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ ย่อมไม่เห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
ย่อมไม่เห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ย่อมไม่เห็นอัตตามีวิญญาณ
ย่อมไม่เห็นวิญญาณในอัตตา หรือย่อมไม่เห็นอัตตาในวิญญาณ
เขาย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยงว่า ไม่เที่ยง
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นทุกข์ว่า เป็นทุกข์
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นอนัตตาว่า เป็นอนัตตา
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่ง ว่าปัจจัยปรุงแต่ง
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นผู้ฆ่า ว่าเป็นผู้ฆ่า
เขาย่อมไม่เข้าไปถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่าเป็นตัวตนของเรา
อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ อันอริยสาวกนั้นไม่เข้าไปถือมั่น ยึดมั่นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนาน
.
. ข้าแต่ท่านสารีบุตร ข้อที่เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้เช่นนั้นของท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
เป็นผู้อนุเคราะห์ ใคร่ประโยชน์ เป็นผู้ว่ากล่าวพร่ำสอน ย่อมเป็นอย่างนั้นแท้
ก็แลจิตของผมหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่น เพราะได้ฟังธรรมเทศนานี้ของท่านสารีบุตร
.


ยมกสูตรที่ ๓ จบ


(ยมกสูตร พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ ๒๗)



แบ่งปันบทความนี้ให้เพื่อนๆ
Facebook! Twitter! Del.icio.us! Free and Open Source Software News Google! Live! Joomla Free PHP