ธรรมะจากพระสูตร Dhamma from Sutta

ฌานมี ๒ นัย


กลุ่มไตรปิฎกสิกขา

ฌานนี้นั้น มีอยู่ ๒ อย่างคือ อารัมมณูปนิชฌาน (เข้าไปเพ่งอารมณ์)
ลักขณูปนิชฌาน (เข้าไปเพ่งลักษณะ). บรรดาฌานทั้ง ๒ นั้น
สมาบัติ ๘ พร้อมด้วยอุปจาร ท่านเรียกว่า “อารัมมณูปนิชฌาน.

ถามว่า เพราะเหตุไร?

แก้ว่า เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์คือกสิณเป็นต้น.

วิปัสสนามรรคและผล ท่านเรียกว่า “ลักขณูปนิชฌาน.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

แก้ว่า เพราะเข้าไปเพ่งลักษณะ.

จริงอยู่ บรรดาวิปัสสนามรรคและผลเหล่านี้
วิปัสสนา ย่อมเข้าไปเพ่งไตรลักษณ์ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น.
ก็กิจคือการเข้าไปเพ่งด้วยวิปัสสนา ย่อมสำเร็จด้วยมรรค
เพราะเหตุนั้น มรรคท่านเรียกว่า “ลักขณูปนิชฌาน.
ส่วนผล ท่านก็เรียกว่า “ลักขณูปนิชฌาน”
เพราะอรรถว่า เข้าไปเพ่งลักษณะที่แท้จริงแห่งนิโรธ.
แต่ในอรรถนี้ ท่านประสงค์เอาอารัมมณูปนิชฌานเท่านั้นว่า ฌาน.

ในอธิการว่าด้วยฌานนี้ พระอาจารย์ผู้โจทท้วงว่า
ชื่อว่าฌานที่ควรจะพึงอ้างถึงอย่างนี้ว่า
เป็นไปกับด้วยวิตก เป็นไปกับด้วยวิจาร ฯลฯ มีปีติและสุข ดังนี้ นั้นเป็นไฉนเล่า
?

ข้าพเจ้า จะกล่าวเฉลยต่อไป :- เปรียบเหมือนบุรุษคนอื่น เว้นทรัพย์และปริชนเสีย
ย่อมเป็นผู้ไม่สมควรภาวะที่จะพึงอ้างถึงในประโยคมีอาทิว่า
ผู้มีทรัพย์ ผู้มีปริชน ฉันใด ฌานอื่น เว้นธรรมมีวิตกเป็นต้นเสีย
ควรจะพึงอ้างถึง ย่อมไม่มี ฉันนั้น
.
เหมือนอย่างว่า การสมมติว่าเสนา ในองค์เสนาทั้งหลาย ที่ชาวโลกกล่าวว่า
เสนา มีพลรถ มีพลเดินเท้า ดังนี้นั่นแล
บัณฑิตควรทราบฉันใด ในอธิการนี้ ก็ควรทราบ
การสมมติว่าฌาน ในองค์ ๕ นั้นแลฉันนั้น
.
ควรทราบในองค์ ๕ เหล่าไหน
? ในองค์ ๕ เหล่านี้ คือ
วิตก (ความตรึก) วิจาร (ความตรอง) ปีติ (ความอิ่มใจ)
สุข (ความสบายใจ) จิตเตกัคคตา (ความที่จิตมีอารมณ์เดียว)
.
จริงอยู่ องค์ ๕ เหล่านี้แหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยความเป็นองค์แห่งฌานนั้น
โดยนัยมีอาทิว่า “เป็นไปกับด้วยวิตก เป็นไปกับด้วยวิจาร
.

ถ้าหากพระอาจารย์ผู้โจทพึงท้วงว่า
เอกัคคตา
(ความที่จิตมีอารมณ์เดียว) จัดเป็นองค์ (แห่งฌาน) ไม่ได้
เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสไว้
(ในบาลีแห่งฌาน) มิใช่หรือ?

แก้ว่า ก็คำที่ท่านกล่าวนั้น ย่อมไม่ถูก.

ถามว่า เพราะเหตุไร?

แก้ว่า เพราะจิตเตกัคคตาแม้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในบาลีแห่งฌานนั่นเอง.

จริงอยู่ จิตเตกัคคตาแม้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แน่นอนในคัมภีร์วิภังค์อย่างนี้ว่า
“วิตก วิจาร ปีติ สุข จิตเตกัคคตา ชื่อว่า ฌาน
.
เพราะฉะนั้น คำที่ท่านกล่าวไว้ว่า “เป็นไปกับด้วยวิตก เป็นไปกับด้วยวิจาร” ฉันใด
แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสไว้ในอธิการนี้ว่า “สจิตเตกัคคตา”
แม้จิตเตกัคคตา ก็ควรทราบว่า เป็นองค์
(แห่งฌาน) ทีเดียว
ตามพระบาลีในคัมภีร์วิภังค์นี้ ฉันนั้น
.
จริงอยู่ อุเทศ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำไว้แล้วด้วยพระประสงค์ใด
อุเทศนั้นนั่นเอง ก็เป็นอันพระองค์ทรงประกาศไว้แล้ว
แม้ในคัมภีร์วิภังค์ด้วยพระประสงค์นั้นแล
.


หมายเหตุ อภิ. วิ. ๓๕/๖๕๖/๓๔๗

(เวรัญชกัณฑวรรณา ว่าด้วยปฐมฌาน พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๑
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ ๑)



แบ่งปันบทความนี้ให้เพื่อนๆ
Facebook! Twitter! Del.icio.us! Free and Open Source Software News Google! Live! Joomla Free PHP