ธรรมะจากพระสูตร Dhamma from Sutta

สอุปาทิเสสสูตร ว่าด้วยสอุปาทิเสสบุคคล ๙ จำพวก


กลุ่มไตรปิฎกสิกขา



[๒๑๖] สมัยหนึ่ง พระผุ้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี.


ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งสบงแล้ว
ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี
ท่านพระสารีบุตรมีความคิดดังนี้ว่า
การเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถียังเช้าเกินไป
ถ้าจะดี เราควรเข้าไปยังอารามของอัญญเดียรถีย์ปริพาชกก่อน
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เข้าไปยังอารามของอัญญเดียรถีย์ปริพาชก
ได้ปราศรัยกับพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ก็สมัยนั้นแล อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกำลังนั่งประชุม
สนทนากันในระหว่างว่า อาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งที่ยังเป็นสอุปาทิเสสะ
กระทำกาละ ผู้นั้นล้วนไม่พ้นจากนรก ไม่พ้นจากกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน
ไม่พ้นจากเปรตวิสัย ไม่พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต.


(หมายเหตุ คำว่า “สอุปาทิเสสบุคคล” หมายถึง บุคคลผู้ยังมีเชื้อกิเลสเหลืออยู่
หรือผู้ยังไม่สิ้นอุปาทาน ได้แก่ พระเสขะ คือ พระอริยบุคคลทั้งหมด ยกเว้นพระอรหันต์
https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%CD%D8%BB%D2%B7%D4%E0%CA%CA&original=1)


ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรไม่ยินดีไม่คัดค้าน
ถ้อยคำที่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกล่าว
ครั้นแล้วลุกจากอาสนะ หลีกไปด้วยคิดว่า
เราจักรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี
กลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส
ในเวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งสบงแล้ว ถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า
การเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถียังเช้าเกินไป
ถ้าจะดี เราควรเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกก่อน
ลำดับนั้น ข้าพระองค์เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก
ได้ปราศรัยกับพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ก็สมัยนั้นแล พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกำลังนั่งประชุม
สนทนากันในระหว่างว่า อาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งที่ยังเป็นสอุปาทิเสสะ
กระทำกาละ ผู้นั้นล้วนไม่พ้นจากนรก ไม่พ้นจากกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน
ไม่พันจากเปรตวิสัย ไม่พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต
ข้าพระองค์ไม่ยินดีไม่คัดค้านถ้อยคำที่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกล่าวแล้ว
ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไปด้วยคิดว่า
เราจักรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.


พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สารีบุตร อัญญเดียรถีย์ปริพาชกบางพวก
โง่เขลา ไม่ฉลาด อย่างไรจักรู้ผู้ที่เป็นสอุปาทิเสสะว่า เป็นสอุปาทิเสสะ
หรือจักรู้ผู้ที่เป็นอนุปาทิเสสะว่า เป็นอนุปาทิเสสะ
สารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้ ที่เป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละ
พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสัย
พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต ๙ จำพวกเป็นไฉน.


(หมายเหตุ คำว่า “อนุปาทิเสสบุคคล” หมายถึง บุคคลผู้ไม่มีเชื้อกิเลสเหลือ,
ผู้หมดอุปาทานสิ้นเชิง ได้แก่ พระอเสขะ คือ พระอรหันต์
https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CD%B9%D8%BB%D2%B7%D4%E0%CA%CA&original=1)


สารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล ในสมาธิ
กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นอันตราปรินิพพายี
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป สารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๑
ผู้เป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน
พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต.


อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล ในสมาธิ
กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นอุปหัจจปรินิพพายี
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป สารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๒
ผู้เป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน
พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต.


อีกประการหนึ่ง บุคคลคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล ในสมาธิ
กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นอสังขารปรินิพพายี
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป สารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๓
ผู้เป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน
พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต.


อีกประการหนึ่ง บุคคลคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล ในสมาธิ
กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นสสังขารปรินิพพายี
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป สารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๔
ผู้เป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน
พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต.


อีกประการหนึ่ง บุคคลคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล ในสมาธิ
กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป สารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๕
ผู้เป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน
พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต.


(หมายเหตุ คำว่า “อนาคามี” หมายถึง ท่านผู้บรรลุอนาคามิผลแล้ว, ผู้ไม่เวียนกลับมาอีก ได้แก่
๑. อันตราปรินิพพายี (ผู้ปรินิพพานในระหว่าง คือ เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้ว อายุยังไม่ถึงกึ่ง ก็ปรินิพพานโดยกิเลส)
๒. อุปหัจจปรินิพพายี (ผู้จวนจะถึงจึงปรินิพพาน คือ อายุพ้นกึ่งแล้ว จวนจะถึงสิ้นอายุจึงปรินิพพาน)
๓. อสังขารปรินิพพายี (ผู้ปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้แรงชักจูง คือ ปรินิพพานโดยง่าย ไม่ต้องใช้ความเพียรนัก)
๔. สสังขารปรินิพพายี (ผู้ปรินิพพานโดยใช้แรงชักจูง คือ ปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรมาก)
. อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี (ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ คือ เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้วก็ตาม จะเกิดเลื่อนต่อขึ้นไปจนถึงอกนิฏฐภพแล้วจึงปรินิพพาน)
https://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=60)


อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคลนั้นเป็นสกทาคามี
เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป เพราะราคะ โทสะและโมหะเบาบาง
กลับมายังโลกนี้เพียงคราวเดียว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
สารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๖ ผู้เป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละ
พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน
พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต.


อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคลนั้นเป็นเอกพีชี
เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป บังเกิดยังภพมนุษย์นี้ครั้งเดียว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
สารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๗ ผู้เป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละ
พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน
พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต.


อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคลนั้นเป็นโกลังโกละ
เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป ท่องเที่ยวอยู่ ๒ - ๓ ตระกูลแล้ว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
สารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๘ ผู้เป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละ
พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน
พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต.


อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคลนั้นเป็นสัตตักขัตตุปรมะ
เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์ ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง
จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ สารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๙
ผู้เป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน
พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต.


(หมายเหตุ คำว่า “โสดาบัน” หมายถึง ท่านผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว
ผู้แรกถึงกระแสอันนำไปสู่พระนิพพาน แน่ต่อการตรัสรู้ข้างหน้า ได้แก่
๑. เอกพีชี (ผู้มีพืชคืออัตตภาพอันเดียว คือ เกิดอีกครั้งเดียว ก็จักบรรลุอรหัต)
. โกลังโกละ (ผู้ไปจากสกุลสู่สกุล คือ เกิดในตระกูลสูงอีก ๒-๓ ครั้ง หรือเกิดในสุคติอีก ๒-๓ ภพ ก็จักบรรลุอรหัต)
๓. สัตตักขัตตุงปรมะ (ผู้มีเจ็ดครั้งเป็นอย่างยิ่ง คือ เวียนเกิดในสุคติภพอีกอย่างมากเพียง ๗ ครั้ง ก็จักบรรลุอรหัต)
https://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%E2%CA%B4%D2%BA%D1%B9&original=1)


สารีบุตร อัญญเดียรถีย์ปริพาชกบางคน โง่เขลา ไม่ฉลาด
อย่างไรจักรู้บุคคลผู้เป็นสอุปาทิเสสะว่า เป็นสอุปาทิเสสะ
หรือจักรู้บุคคลผู้เป็นอนุปาทิเสสะว่า เป็นอนุปาทิเสสะ
สารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้แล เป็นสุปาทิเสสะ กระทำกาละ
พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน
พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต.


สารีบุตร ธรรมปริยายนี้ ยังไม่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาก่อน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะชนทั้งหลายฟังธรรมปริยายนี้แล้ว อย่าถึงความประมาท
อีกอย่างหนึ่ง เรากล่าวธรรมปริยายนี้โดยมุ่งการแก้ปัญหา


สอุปาทิเสสสูตร จบ


(สอุปาทิเสสสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ ๓๗)



แบ่งปันบทความนี้ให้เพื่อนๆ
Facebook! Twitter! Del.icio.us! Free and Open Source Software News Google! Live! Joomla Free PHP