ธรรมะจากพระสูตร Dhamma from Sutta

อลังสูตร ว่าด้วยภิกษุเป็นผู้เพียงพอสำหรับตนเองและผู้อื่น


กลุ่มไตรปิฎกสิกขา



[๑๕๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ
เป็นผู้เพียงพอสำหรับตนเองและผู้อื่น
ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑
เป็นผู้ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑
พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำแล้ว ๑
รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑
เป็นผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ
ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑
เป็นผู้ชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ๑
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล
เป็นผู้เพียงพอสำหรับตนเองและผู้อื่น.


[๑๕๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
เป็นผู้เพียงพอสำหรับตนเองและผู้อื่น
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ไม่มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย
แต่เป็นผู้ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑
พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำแล้ว ๑
รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑
เป็นผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ
ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑
เป็นผู้ชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ๑
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
เป็นผู้เพียงพอสำหรับตนเองและผู้อื่น.


[๑๕๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
เป็นผู้เพียงพอสำหรับตนเอง แต่ไม่เป็นผู้เพียงพอสำหรับผู้อื่น
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑
เป็นผู้ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑
พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำแล้ว ๑
รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑
ไม่ใช่ผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ
ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์
และไม่ใช่ผู้ชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล
เป็นผู้เพียงพอสำหรับตนเอง แต่ไม่เป็นผู้เพียงพอสำหรับผู้อื่น. 


[๑๕๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
เป็นผู้เพียงพอสำหรับผู้อื่น แต่ไม่เป็นผู้เพียงพอสำหรับตนเอง
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑
เป็นผู้ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑
แต่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำแล้ว
และไม่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
เป็นผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ
ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑
เป็นผู้ชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ๑
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล
เป็นผู้เพียงพอสำหรับผู้อื่น แต่ไม่เป็นผู้เพียงพอสำหรับตนเอง.


[๑๕๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
เป็นผู้เพียงพอสำหรับตนเอง แต่ไม่เป็นผู้เพียงพอสำหรับผู้อื่น
ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ไม่เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย
แต่เป็นผู้ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑
พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำแล้ว ๑
รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑
ไม่ใช่ผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ
ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์
และไม่ใช่ผู้ชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล
เป็นผู้เพียงพอสำหรับตนเอง แต่ไม่เป็นผู้เพียงพอสำหรับผู้อื่น. 


[๑๕๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
เป็นผู้เพียงพอสำหรับผู้อื่น แต่ไม่เป็นผู้เพียงพอสำหรับตนเอง
ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ไม่เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย
แต่เป็นผู้ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑
ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำแล้ว
ไม่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
เป็นผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ
ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑
เป็นผู้ชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ๑
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล
เป็นผู้เพียงพอสำหรับผู้อื่น แต่ไม่เป็นผู้เพียงพอสำหรับตนเอง.


[๑๕๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ
เป็นผู้เพียงพอสำหรับตนเอง แต่ไม่เป็นผู้เพียงพอสำหรับผู้อื่น
ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ไม่เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย
ไม่เป็นผู้ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว
แต่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำแล้ว ๑
รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑
ไม่ใช่ผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ
ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์
ไม่ใช่ผู้ชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล
เป็นผู้เพียงพอสำหรับตนเอง แต่ไม่เป็นผู้เพียงพอสำหรับผู้อื่น.


[๑๕๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ
เป็นผู้เพียงพอสำหรับผู้อื่น แต่ไม่เป็นผู้เพียงพอสำหรับตนเอง
ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ไม่เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย
ไม่เป็นผู้ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว
ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำแล้ว
ไม่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
แต่เป็นผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ
ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑
เป็นผู้ชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ๑
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล
เป็นผู้เพียงพอสำหรับผู้อื่น แต่ไม่เป็นผู้เพียงพอสำหรับตนเอง.


อลังสูตร จบ



(อลังสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ ๓๗)



แบ่งปันบทความนี้ให้เพื่อนๆ
Facebook! Twitter! Del.icio.us! Free and Open Source Software News Google! Live! Joomla Free PHP