สารส่องใจ Enlightenment

พิจารณาทุกขเวทนา (ตอนที่ ๓)



พระธรรมเทศนา โดย พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน)
เทศน์โปรดคุณเพาพงา วรรธนะกุล ณ วัดป่าบ้านตาด

เมื่อวันที่ ๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๙



พิจารณาทุกขเวทนา (ตอนที่ ๑) (คลิก)
พิจารณาทุกขเวทนา (ตอนที่ ๒) (คลิก)



คำว่า “ธาตุ” ก็ก้อนธาตุอยู่แล้ว วิญญาณก็ธาตุ สิ่งที่มาสัมผัสก็ธาตุ
รูปก็ธาตุ เสียงก็ธาตุ อะไรๆ ก็ธาตุ อะไรๆ มันก็เป็นธาตุไปหมดอยู่แล้ว


เรื่องขันธ์ภายในตัวเรา เช่น รูป ก็เป็นขันธ์ เวทนา ก็เป็นขันธ์
สัญญา ก็เป็นขันธ์ สังขาร ก็เป็นขันธ์ วิญญาณ ก็เป็นขันธ์
เป็นขันธ์ เป็นหมวดเป็นหมู่ เป็นชิ้นเป็นอัน อยู่ตามธรรมชาติของเขา



เรื่องใจก็ให้รู้ว่า “นี้คือผู้รู้” ที่จะต้องพิสูจน์ให้รู้แจ้งเช่นเดียวกับธาตุขันธ์ทั้งหลาย
จะไม่ยึดว่าเป็นตนเป็นของตน ซึ่งจะเป็นภาระหนักมากขึ้น
จำต้องพิจารณาด้วยปัญญาให้เห็นตามความเป็นจริงเสมอกัน
แต่การพิจารณา “จิต” นี้ ได้เคยอธิบายมาหลายกัณฑ์แล้ว น่าจะพอเข้าใจ


เฉพาะอย่างยิ่งทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นภายในกาย
ให้ทราบชัดว่า
“นี้คือ เวทนา” เพียงเท่านั้น
อย่าไปตีความหมายว่าเวทนาเป็นเรา เป็นของเรา หรืออะไรๆ เป็นของเรา
เพราะนั้นจะเป็นเครื่องส่งเสริมกิเลสให้มากขึ้นโดยลำดับ
แล้วก็นำความทุกข์เข้าทับถมใจมากขึ้น
เมื่อเวทนาไม่ดับยิ่งมีทุกข์ทางใจมากขึ้น แล้วจะเอาอะไรมาทนกัน



“เวทนา” มันเกิดขึ้นในธาตุในขันธ์มันก็เคยเกิดขึ้นอยู่แล้ว
ตั้งแต่วันเกิดมาขณะที่ตกคลอดออกมา ก็มีเวทนาแสนสาหัส รอดตายจึงได้เป็นมนุษย์มา
จะไม่เรียกว่า “เวทนา” จะเรียกว่าอะไร
เวทนานี้เคยเป็นมาตั้งแต่โน้น จะให้มันละทางเดินของมันละไม่ได้
ทางของความทุกข์ในธาตุในขันธ์ มันต้องแสดงตัวมันโดยสม่ำเสมอเรื่อยมา
มันเกิดขึ้นแล้วก็ตั้งอยู่ และก็ดับไป มีเท่านั้น มีเกิดขึ้น มีตั้งอยู่ แล้วดับไป
ไม่ว่าจะเป็นเวทนานอกเวทนาใน คือจิตเวทนา


เฉพาะอย่างยิ่งเวทนาทางร่างกาย พิจารณาให้เห็นชัด
รูป ก็เป็นรูป รู้ชัดเห็นชัดอยู่แล้วตั้งแต่วันเกิดมา
จะเสกสรรปั้นยอว่าเป็นเรา เป็นของเรา หรือเป็นเจ้าฟ้า พระยา มหากษัตริย์
เป็นเจ้าขุนมูลนายหรือเป็นอะไรก็แล้วแต่ความเสกสรร
แต่ความจริงก็เป็นความจริงอยู่ตายตัว ไม่ได้เป็นไปตามความเสกสรรปั้นยอใดๆ ทั้งสิ้น
ความจริงรูปก็คือรูปขันธ์นั่นแล มีธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ
รวมกันเข้า เรียกว่า
“คน” ว่า “สัตว์” ว่า หญิงว่าชาย
แยกประเภทออกไป เป็นชื่อเป็นนามไม่มีสิ้นสุด
แต่สิ่งที่คงที่นั้นคือรูป ก็คือ “กองรูป” นั้นเอง
รวมทั้งหมดที่เป็นส่วนผสมนี้ เรียกว่ากองรูป คือรูปกาย ซึ่งเป็นความจริงอันหนึ่ง
แยกดูส่วนไหนก็เป็นความจริงของมันแต่ละอัน


ในขณะที่ประชุมกันอยู่ หนังก็เป็นหนัง เนื้อก็เป็นเนื้อ เอ็น กระดูก ฯลฯ
ที่ให้ชื่อให้นามเขา อย่าไปหลงชื่อหลงนามของมัน ให้เห็นว่าเป็นความจริงด้วยกัน
คือเป็นกองรูป กองเวทนา มันไม่ใช่รูป รูปไม่ใช่เวทนา มีทุกขเวทนาเป็นต้น
เวทนาเป็นเวทนา จะเป็นสุขขึ้นมาก็ตาม เป็นทุกข์ขึ้นมาก็ตาม เฉยๆ ก็ตาม
มันเป็นเวทนาอันหนึ่งๆ ต่างหากของมันซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจน
สองอย่างนี้สำคัญมากยิ่งกว่า สัญญา สังขาร วิญญาณ
ซึ่งเกิดดับพร้อมกันไปเป็นระยะๆ



แต่เวทนานี้ถึงจะดับก็มีเวลาตั้งอยู่ เห็นได้ชัดทางภาคปฏิบัติ
ในขณะที่ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ให้จับทุกขเวทนานั้นเป็นเป้าหมาย
คือเป็นจุดที่พิจารณา อย่าเห็นว่าเวทนานี้เป็นเรา
จะผิดจากหลักความจริงของเวทนาและวิธีการพิจารณา
จะไม่ทราบความจริงของเวทนาด้วยปัญญาที่ควรทราบ
เมื่อไม่ทราบความจริงแล้ว ยังจะถือเอาทุกขเวทนานั้นว่าเป็นเราเข้าอีก
ก็จะเพิ่มความทุกข์ขึ้นอีกมากมายแก่จิตใจ
เพราะเป็นการผิดต่อหลักธรรมชาติ
ซึ่งเป็นหลักความจริงที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้



ท่านจึงสอนให้พิจารณาให้เห็นทุกขเวทนา
จะเป็นขึ้นในส่วนใดก็ตามของร่างกาย ให้ทราบว่ามันเป็นอาการอันหนึ่ง
เป็นธรรมชาติอันหนึ่งของมัน ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของมันเท่านั้น
อย่าไปยุ่ง อย่าไปปรุงไปแต่ง ไปเสกสรรปั้นยอ ให้มันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
ถ้าไม่อยากแบกหามทุกข์ไม่มีเวลาปลงวาง
ให้เห็นตามความจริงของมันในขณะที่ปรากฏตัวขึ้นมาก็ดี ตั้งอยู่ก็ดี และดับไปก็ดี
เรื่องเวทนามันมีเท่านั้น จงแยกให้เห็นชัดด้วยสติปัญญา



เมื่อกำหนดดูเวทนาแล้วย้อนเข้ามาดูจิต ว่าจิตกับเวทนานี้เป็นอันเดียวกันไหม
แล้วดูกาย กายกับจิตนี้เป็นอันเดียวกันไหม ดูให้ชัด
ในขณะที่พิจารณานี้ ไม่ให้จิตส่งออกไปทางไหน ให้จิตอยู่ในจุดนั้นแห่งเดียว
เช่น พิจารณาทุกขเวทนา ก็กำหนดทุกขเวทนาให้เห็นชัด
เมื่อย้อนเข้ามาดูจิต ก็กำหนดดูความรู้นี้ให้ชัด
ว่ามันเป็นอันเดียวกันไหม เอาไปเทียบเคียงกันดู
ความรู้อันนี้กับเวทนาอันนั้นน่ะ มันเหมือนกันไหม จะรวมเป็นอันเดียวกันได้ไหม
และรูปกายอันนี้มันเหมือนกับจิตไหม
?
มันเหมือนกับเวทนาไหม? จะพอเป็นอันเดียวกันได้ไหม?
นั่น! ท่านจึงว่า “แยกดูให้ดี!” เพราะรูปมันเป็นรูป มันจะไปเหมือนจิตได้อย่างไร
จิตเป็นนามธรรม เป็นธรรมชาติที่รู้ แต่ธาตุนี้เป็นธาตุไม่รู้
คือธาตุดินนี้ไม่รู้ ธาตุน้ำนี้ไม่รู้ ธาตุลมนี้ไม่รู้ ธาตุไฟนี้ไม่รู้
แต่“มโนธาตุ” นี้รู้ เมื่อเป็นเช่นนั้น มันจะเป็นอันเดียวกันได้อย่างไร


ทุกขเวทนาก็เหมือนกัน มันก็เป็นธาตุไม่รู้ เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง
ธาตุไม่รู้กับธาตุไม่รู้ก็ต่างกันอีก เวทนากับกายก็เป็นคนละอย่าง
มันไม่ใช่อันเดียวกัน จะให้เป็นอันเดียวกันได้อย่างไร
การแยกการแยะในขณะที่พิจารณาเวทนา ดูให้เห็นชัดตามความจริงนั้น
ไม่ต้องกลัวตาย ความตายไม่มีในจิต
อย่าไปสงสัย อย่าไปสร้างขวากสร้างหนามปักเสียบตนเองให้เจ็บแสบเดือดร้อน
ความตายไม่มี คือในจิตนี้ไม่มีความตาย มีแต่ความรู้ล้วนๆ
ความตายไม่มีในจิต ซึ่งเป็นสิ่งแน่นอนตายตัวร้อยเปอร์เซ็นต์



ความสำคัญว่าตายนี้ เป็นเรื่องเสกสรรปั้นยอขึ้นมาให้แก่จิต
ด้วยอำนาจแห่งความหลงของจิตเสียเอง เป็นผู้เสกสรรปั้นยอขึ้นมาหลอกตัวเอง
ฉะนั้นเมื่อพิจารณาไปตามความจริงแล้ว
จิตไม่ใช่ของตาย เราจะไปกลัวตายทำไม

คำว่า
“ตาย” นั้นคืออะไร? เราก็ทราบว่าธาตุขันธ์มันสลายลงไป
คนเราพอหมดลมหายใจเขาเรียกว่า “คนตาย”
ขณะนั้น “ผู้รู้” แยกตัวออกจากธาตุนั้นแล้ว
ธาตุนั้นเลยมีแต่ “รูปธาตุ” เฉยๆ เวทนาก็ไม่มี นั่นเขาเรียกว่า “คนตาย”


แต่ความจริงมันไม่ได้ตาย เพราะฉะนั้น จึงต้องพิจารณาให้ชัดเจนด้วยปัญญา
เราไม่ต้องสร้างเรื่องความตายขึ้นมาปักเสียบหัวใจ หรือมากีดขวางทางเดินของเรา
เพื่อความรู้จริงเห็นจริงด้วยการพิจารณา
แม้จะทุกข์มากทุกข์น้อยขนาดไหน ก็จงกำหนดดูให้ดีในเรื่องความทุกข์นั้น
เอาความทุกข์นั้นแลเป็นหินลับปัญญา
แยกทุกข์ขยายทุกข์ออกจากจิต แยกจิตออกจากทุกข์ เทียบเคียงกันให้ได้ทุกสัดทุกส่วน
ในขณะที่พิจารณาอย่าให้จิตเผลอไปไหน
เพื่อความรู้จริงเห็นจริงแบบ
“ตะลุมบอน” กับขันธ์นั้นๆ


จิตหรือจะตายตามสมมุติของโลก จะตายในขณะที่พิจารณานี้ก็ให้รู้ว่า
อะไรตายก่อน อะไรตายหลัง เวทนาดับไปเมื่อไร
จิตนี้จะดับไปเมื่อไร และจิตนี้จะดับไปที่ไหนกันแน่
เพราะธรรมชาติของจิตไม่ใช่เป็นของดับ ใครจะมาบังคับให้จิตดับได้อย่างไร
?


จงพิจารณาดูให้ดี ระหว่างขันธ์กับจิต จนรู้ความจริงขึ้นมาประจักษ์ใจ หายสงสัย
นี่แหละท่านเรียกว่า
“สร้างปัญญา ฝึกซ้อมปัญญา ให้เห็นความจริง”


ทุกขเวทนาจะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงไรในขณะนั้น
จะไม่มีอำนาจเข้ามาบังคับบัญชาจิตใจให้กระทบกระเทือนได้เลย
เมื่อทราบแล้วว่าจิตเป็นจิต เวทนาเป็นเวทนา
เมื่อปัญญาพิจารณาเห็นชัดเจนตามนี้แล้ว ว่ามันเป็นความจริงแต่ละอย่างๆ
ระหว่างขันธ์กับจิตจะไม่กระทบกระเทือนกันเลย
กายก็สักว่ากาย ตั้งอยู่เฉยๆ ทุกขเวทนาเกิดขึ้นกายก็มีอยู่
ทุกขเวทนาดับไป กายทุกส่วนก็มีอยู่ตามธรรมชาติของตน
เวทนาเกิดขึ้นก็เป็นเรื่องของเวทนา
ตั้งอยู่ก็เป็นเรื่องของเวทนา ดับไปก็เป็นเรื่องของเวทนา
จิตเป็นผู้รู้เรื่องทุกขเวทนา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป
จิตไม่ใช่เป็นผู้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เหมือนกายเหมือนเวทนา



เมื่อหัดพิจารณาอย่างนี้จนชำนาญแล้ว ถึงคราวเข้าที่คับขันก็ให้พิจารณาอย่างนี้
เราไม่ต้องกลัวตาย เพราะเราเป็นนักรบ
เรื่องกลัวตายไม่ใช่ธรรมของพระพุทธเจ้า เรื่องความกล้าหาญต่อความจริงนี้เป็นธรรม
และเป็นหลัก
“สวากขาตธรรม” ที่ตรัสไว้ชอบแล้ว
จงดำเนินไปตามความจริงนี้ ตายก็ตายไม่ต้องกลัว เพราะจิตไม่ได้ตาย
แต่ขอให้รู้อยู่กับตัวว่าอะไรที่แสดงขึ้นเวลานี้ มีทุกขเวทนา เป็นต้น
มันเป็นอย่างไร ทุกขเวทนาดูให้ทราบตามความจริงของมัน
เมื่อทราบความจริงแล้ว ทุกขเวทนาก็สักแต่ว่าธรรมชาติอันหนึ่งเท่านั้น
ไม่ปรากฏว่ามีความหมายร้ายดีแต่อย่างใด และไม่ปรากฏว่าเป็น
“ข้าศึก” ต่อผู้ใด
เป็นความจริงของมันอย่างเต็มตัวที่แสดงขึ้นมาตามหลักธรรมชาติเท่านั้น


กาย ก็เป็นความจริงของกายที่ปรากฏตัวอยู่ตามหลักธรรมชาติของตน
จิตก็เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง ที่เป็นความรู้ประจำตน ไม่ได้ไปคละเคล้ากับสิ่งใด



เมื่อพิจารณารู้รอบแล้ว จิตก็ถอนตัวออกมาเป็นความจริงของตัวอย่างสมบูรณ์
ทุกขเวทนาเขาก็มีความสมบูรณ์ตามธรรมชาติของเขา
กายก็มีความสมบูรณ์ตามธรรมชาติของตน
โดยที่จิตไม่ไปแยกส่วนแบ่งส่วนวุ่นวายกับเขา
เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ไม่มีอะไรกระทบกระเทือนกัน
ทุกข์ จะทุกข์ขนาดไหนก็ไม่กระเทือนถึงจิต
ยิ้มได้ในขณะที่ทุกข์กำลังเกิดอยู่มากมายนั้นเอง
ยิ้มได้! เพราะจิตเป็นอันหนึ่ง ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเวทนา
คือ ไม่เข้าไปคละเคล้ากับเวทนานั้นให้เผาลนตนเอง ใจก็สบาย



นี้แลการพิจารณาทุกขเวทนาให้รู้รอบ
โดยเอาเวทนานั้นเป็นสนามรบ
เป็นหินลับปัญญา เป็นสถานที่ลับปัญญาให้คมกล้าขึ้น
ด้วยการพิจารณาแยกแยะทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น แยกแยะดูกาย แยกแยะดูเวทนา
อันใดจะดับก่อนดับหลังก็ให้ทราบตามความจริงของมัน
มันมีความเกิด ความดับ ประจำตัวอยู่อย่างนั้นแต่ไหนแต่ไรมา
เราจะรู้ก็ตามไม่รู้ก็ตาม สิ่งเหล่านี้มีเป็นหลักธรรมชาติของตัวอยู่อย่างนั้น
เป็นแต่เพียงพิจารณาให้เห็นตามความจริงของมัน
จึงไม่ปีนเกลียวกับธรรม เราก็อยู่สบาย



เอ้า! จะตายก็ตายซิ ตามโลกเขาสมมุตินิยมว่า “ตาย”
ตายมันเป็นอย่างไร จึงเรียกว่า “ตาย” กายมันแตก เอ้า แตกไป
อะไรสลายก็สลายลงไป ผู้ไม่สลายก็อยู่ อะไรไม่สลาย ก็คือจิตนี่เอง


ใจนี้เมื่อสร้างปัญญาเป็นหลักเป็นเกณฑ์ขึ้นภายในตนแล้วเป็นอย่างนั้น
ไม่มีความหวั่นไหวต่อความล้มความตาย จิตมีความแกล้วกล้าสามารถ



นี่แหละการพิจารณาเรื่องของตัว คือเรื่องของจิต
พิจารณาเช่นนี้ เราไม่ต้องกลัวตาย กลัวไปทำไม
พระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้กลัว ธรรมไม่สอนให้กลัว
ความจริงไม่เป็นสิ่งที่น่ากลัว เพราะเป็นความจริง
จะน่ากล้าน่ากลัวที่ตรงไหน กล้าก็ไม่น่ากล้า กลัวก็ไม่น่ากลัว
นี่หมายถึงการถึงความจริงล้วนๆ แล้ว
ไม่มีคำว่า
“กล้า” ว่า “กลัว” เหลืออยู่ภายในใจเลย
มีเฉพาะ “ความบริสุทธิ์” อย่างเดียว


(โปรดติดตามเนื้อหาต่อในฉบับหน้า)


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -


จาก พระธรรมเทศนา "พิจารณาทุกขเวทนา"
ใน ธรรมชุดเตรียมพร้อม โดย ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน


พระธรรมเทศนา โดย พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน)
เทศน์โปรดคุณเพาพงา วรรธนะกุล ณ วัดป่าบ้านตาด

เมื่อวันที่ ๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๙


พิจารณาทุกขเวทนา (ตอนที่ ๑) (คลิก)
พิจารณาทุกขเวทนา (ตอนที่ ๒) (คลิก)


คำว่า ธาตุ ก็ก้อนธาตุอยู่แล้ว วิญญาณก็ธาตุ สิ่งที่มาสัมผัสก็ธาตุ
รูปก็ธาตุ เสียงก็ธาตุ อะไรๆ ก็ธาตุ อะไรๆ มันก็เป็นธาตุไปหมดอยู่แล้ว


เรื่องขันธ์ภายในตัวเรา เช่น รูป ก็เป็นขันธ์ เวทนา ก็เป็นขันธ์
สัญญา ก็เป็นขันธ์ สังขาร ก็เป็นขันธ์ วิญญาณ ก็เป็นขันธ์
เป็นขันธ์ เป็นหมวดเป็นหมู่ เป็นชิ้นเป็นอัน อยู่ตามธรรมชาติของเขา


เรื่องใจก็ให้รู้ว่า นี้คือผู้รู้ที่จะต้องพิสูจน์ให้รู้แจ้งเช่นเดียวกับธาตุขันธ์ทั้งหลาย
จะไม่ยึดว่าเป็นตนเป็นของตน ซึ่งจะเป็นภาระหนักมากขึ้น
จำต้องพิจารณาด้วยปัญญาให้เห็นตามความเป็นจริงเสมอกัน
แต่การพิจารณา
จิตนี้ ได้เคยอธิบายมาหลายกัณฑ์แล้ว น่าจะพอเข้าใจ

เฉพาะอย่างยิ่งทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นภายในกาย
ให้ทราบชัดว่า
นี้คือ เวทนาเพียงเท่านั้น
อย่าไปตีความหมายว่าเวทนาเป็นเรา เป็นของเรา หรืออะไรๆ เป็นของเรา
เพราะนั้นจะเป็นเครื่องส่งเสริมกิเลสให้มากขึ้นโดยลำดับ
แล้วก็นำความทุกข์เข้าทับถมใจมากขึ้น
เมื่อเวทนาไม่ดับยิ่งมีทุกข์ทางใจมากขึ้น แล้วจะเอาอะไรมาทนกัน


เวทนามันเกิดขึ้นในธาตุในขันธ์มันก็เคยเกิดขึ้นอยู่แล้ว
ตั้งแต่วันเกิดมาขณะที่ตกคลอดออกมา ก็มีเวทนาแสนสาหัส รอดตายจึงได้เป็นมนุษย์มา
จะไม่เรียกว่า
เวทนาจะเรียกว่าอะไร
เวทนานี้เคยเป็นมาตั้งแต่โน้น จะให้มันละทางเดินของมันละไม่ได้
ทางของความทุกข์ในธาตุในขันธ์ มันต้องแสดงตัวมันโดยสม่ำเสมอเรื่อยมา
มันเกิดขึ้นแล้วก็ตั้งอยู่ และก็ดับไป มีเท่านั้น มีเกิดขึ้น มีตั้งอยู่ แล้วดับไป
ไม่ว่าจะเป็นเวทนานอกเวทนาใน คือจิตเวทนา


เฉพาะอย่างยิ่งเวทนาทางร่างกาย พิจารณาให้เห็นชัด
รูป ก็เป็นรูป รู้ชัดเห็นชัดอยู่แล้วตั้งแต่วันเกิดมา
จะเสกสรรปั้นยอว่าเป็นเรา เป็นของเรา หรือเป็นเจ้าฟ้า พระยา มหากษัตริย์
เป็นเจ้าขุนมูลนายหรือเป็นอะไรก็แล้วแต่ความเสกสรร
แต่ความจริงก็เป็นความจริงอยู่ตายตัว ไม่ได้เป็นไปตามความเสกสรรปั้นยอใดๆ ทั้งสิ้น
ความจริงรูปก็คือรูปขันธ์นั่นแล มีธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ
รวมกันเข้า เรียกว่า
คนว่า สัตว์ว่า หญิงว่าชาย
แยกประเภทออกไป เป็นชื่อเป็นนามไม่มีสิ้นสุด
แต่สิ่งที่คงที่นั้นคือรูป ก็คือ
กองรูปนั้นเอง
รวมทั้งหมดที่เป็นส่วนผสมนี้ เรียกว่ากองรูป คือรูปกาย ซึ่งเป็นความจริงอันหนึ่ง
แยกดูส่วนไหนก็เป็นความจริงของมันแต่ละอัน


ในขณะที่ประชุมกันอยู่ หนังก็เป็นหนัง เนื้อก็เป็นเนื้อ เอ็น กระดูก ฯลฯ
ที่ให้ชื่อให้นามเขา อย่าไปหลงชื่อหลงนามของมัน ให้เห็นว่าเป็นความจริงด้วยกัน
คือเป็นกองรูป กองเวทนา มันไม่ใช่รูป รูปไม่ใช่เวทนา มีทุกขเวทนาเป็นต้น
เวทนาเป็นเวทนา จะเป็นสุขขึ้นมาก็ตาม เป็นทุกข์ขึ้นมาก็ตาม เฉยๆ ก็ตาม
มันเป็นเวทนาอันหนึ่งๆ ต่างหากของมันซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจน
สองอย่างนี้สำคัญมากยิ่งกว่า สัญญา สังขาร วิญญาณ
ซึ่งเกิดดับพร้อมกันไปเป็นระยะๆ


แต่เวทนานี้ถึงจะดับก็มีเวลาตั้งอยู่ เห็นได้ชัดทางภาคปฏิบัติ
ในขณะที่ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ให้จับทุกขเวทนานั้นเป็นเป้าหมาย
คือเป็นจุดที่พิจารณา อย่าเห็นว่าเวทนานี้เป็นเรา
จะผิดจากหลักความจริงของเวทนาและวิธีการพิจารณา
จะไม่ทราบความจริงของเวทนาด้วยปัญญาที่ควรทราบ
เมื่อไม่ทราบความจริงแล้ว ยังจะถือเอาทุกขเวทนานั้นว่าเป็นเราเข้าอีก
ก็จะเพิ่มความทุกข์ขึ้นอีกมากมายแก่จิตใจ
เพราะเป็นการผิดต่อหลักธรรมชาติ
ซึ่งเป็นหลักความจริงที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้


ท่านจึงสอนให้พิจารณาให้เห็นทุกขเวทนา
จะเป็นขึ้นในส่วนใดก็ตามของร่างกาย ให้ทราบว่ามันเป็นอาการอันหนึ่ง
เป็นธรรมชาติอันหนึ่งของมัน ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของมันเท่านั้น
อย่าไปยุ่ง อย่าไปปรุงไปแต่ง ไปเสกสรรปั้นยอ ให้มันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
ถ้าไม่อยากแบกหามทุกข์ไม่มีเวลาปลงวาง
ให้เห็นตามความจริงของมันในขณะที่ปรากฏตัวขึ้นมาก็ดี ตั้งอยู่ก็ดี และดับไปก็ดี
เรื่องเวทนามันมีเท่านั้น จงแยกให้เห็นชัดด้วยสติปัญญา


เมื่อกำหนดดูเวทนาแล้วย้อนเข้ามาดูจิต ว่าจิตกับเวทนานี้เป็นอันเดียวกันไหม
แล้วดูกาย กายกับจิตนี้เป็นอันเดียวกันไหม ดูให้ชัด
ในขณะที่พิจารณานี้ ไม่ให้จิตส่งออกไปทางไหน ให้จิตอยู่ในจุดนั้นแห่งเดียว
เช่น พิจารณาทุกขเวทนา ก็กำหนดทุกขเวทนาให้เห็นชัด
เมื่อย้อนเข้ามาดูจิต ก็กำหนดดูความรู้นี้ให้ชัด
ว่ามันเป็นอันเดียวกันไหม เอาไปเทียบเคียงกันดู
ความรู้อันนี้กับเวทนาอันนั้นน่ะ มันเหมือนกันไหม จะรวมเป็นอันเดียวกันได้ไหม
และรูปกายอันนี้มันเหมือนกับจิตไหม
?
มันเหมือนกับเวทนาไหม
? จะพอเป็นอันเดียวกันได้ไหม?
นั่น! ท่านจึงว่า
แยกดูให้ดี!เพราะรูปมันเป็นรูป มันจะไปเหมือนจิตได้อย่างไร
จิตเป็นนามธรรม เป็นธรรมชาติที่รู้ แต่ธาตุนี้เป็นธาตุไม่รู้
คือธาตุดินนี้ไม่รู้ ธาตุน้ำนี้ไม่รู้ ธาตุลมนี้ไม่รู้ ธาตุไฟนี้ไม่รู้
แต่
มโนธาตุนี้รู้ เมื่อเป็นเช่นนั้น มันจะเป็นอันเดียวกันได้อย่างไร

ทุกขเวทนาก็เหมือนกัน มันก็เป็นธาตุไม่รู้ เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง
ธาตุไม่รู้กับธาตุไม่รู้ก็ต่างกันอีก เวทนากับกายก็เป็นคนละอย่าง
มันไม่ใช่อันเดียวกัน จะให้เป็นอันเดียวกันได้อย่างไร
การแยกการแยะในขณะที่พิจารณาเวทนา ดูให้เห็นชัดตามความจริงนั้น
ไม่ต้องกลัวตาย ความตายไม่มีในจิต
อย่าไปสงสัย อย่าไปสร้างขวากสร้างหนามปักเสียบตนเองให้เจ็บแสบเดือดร้อน
ความตายไม่มี คือในจิตนี้ไม่มีความตาย มีแต่ความรู้ล้วนๆ
ความตายไม่มีในจิต ซึ่งเป็นสิ่งแน่นอนตายตัวร้อยเปอร์เซ็นต์


ความสำคัญว่าตายนี้ เป็นเรื่องเสกสรรปั้นยอขึ้นมาให้แก่จิต
ด้วยอำนาจแห่งความหลงของจิตเสียเอง เป็นผู้เสกสรรปั้นยอขึ้นมาหลอกตัวเอง
ฉะนั้นเมื่อพิจารณาไปตามความจริงแล้ว
จิตไม่ใช่ของตาย เราจะไปกลัวตายทำไม

คำว่า
ตายนั้นคืออะไร? เราก็ทราบว่าธาตุขันธ์มันสลายลงไป
คนเราพอหมดลมหายใจเขาเรียกว่า
คนตาย
ขณะนั้น ผู้รู้แยกตัวออกจากธาตุนั้นแล้ว
ธาตุนั้นเลยมีแต่
รูปธาตุเฉยๆ เวทนาก็ไม่มี นั่นเขาเรียกว่า คนตาย

แต่ความจริงมันไม่ได้ตาย เพราะฉะนั้น จึงต้องพิจารณาให้ชัดเจนด้วยปัญญา
เราไม่ต้องสร้างเรื่องความตายขึ้นมาปักเสียบหัวใจ หรือมากีดขวางทางเดินของเรา
เพื่อความรู้จริงเห็นจริงด้วยการพิจารณา
แม้จะทุกข์มากทุกข์น้อยขนาดไหน ก็จงกำหนดดูให้ดีในเรื่องความทุกข์นั้น
เอาความทุกข์นั้นแลเป็นหินลับปัญญา
แยกทุกข์ขยายทุกข์ออกจากจิต แยกจิตออกจากทุกข์ เทียบเคียงกันให้ได้ทุกสัดทุกส่วน
ในขณะที่พิจารณาอย่าให้จิตเผลอไปไหน
เพื่อความรู้จริงเห็นจริงแบบ
ตะลุมบอนกับขันธ์นั้นๆ

จิตหรือจะตายตามสมมุติของโลก จะตายในขณะที่พิจารณานี้ก็ให้รู้ว่า
อะไรตายก่อน อะไรตายหลัง เวทนาดับไปเมื่อไร
จิตนี้จะดับไปเมื่อไร และจิตนี้จะดับไปที่ไหนกันแน่
เพราะธรรมชาติของจิตไม่ใช่เป็นของดับ ใครจะมาบังคับให้จิตดับได้อย่างไร
?

จงพิจารณาดูให้ดี ระหว่างขันธ์กับจิต จนรู้ความจริงขึ้นมาประจักษ์ใจ หายสงสัย
นี่แหละท่านเรียกว่า
สร้างปัญญา ฝึกซ้อมปัญญา ให้เห็นความจริง

ทุกขเวทนาจะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงไรในขณะนั้น
จะไม่มีอำนาจเข้ามาบังคับบัญชาจิตใจให้กระทบกระเทือนได้เลย
เมื่อทราบแล้วว่าจิตเป็นจิต เวทนาเป็นเวทนา
เมื่อปัญญาพิจารณาเห็นชัดเจนตามนี้แล้ว ว่ามันเป็นความจริงแต่ละอย่างๆ
ระหว่างขันธ์กับจิตจะไม่กระทบกระเทือนกันเลย
กายก็สักว่ากาย ตั้งอยู่เฉยๆ ทุกขเวทนาเกิดขึ้นกายก็มีอยู่
ทุกขเวทนาดับไป กายทุกส่วนก็มีอยู่ตามธรรมชาติของตน
เวทนาเกิดขึ้นก็เป็นเรื่องของเวทนา
ตั้งอยู่ก็เป็นเรื่องของเวทนา ดับไปก็เป็นเรื่องของเวทนา
จิตเป็นผู้รู้เรื่องทุกขเวทนา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป
จิตไม่ใช่เป็นผู้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เหมือนกายเหมือนเวทนา


เมื่อหัดพิจารณาอย่างนี้จนชำนาญแล้ว ถึงคราวเข้าที่คับขันก็ให้พิจารณาอย่างนี้
เราไม่ต้องกลัวตาย เพราะเราเป็นนักรบ
เรื่องกลัวตายไม่ใช่ธรรมของพระพุทธเจ้า เรื่องความกล้าหาญต่อความจริงนี้เป็นธรรม
และเป็นหลัก
สวากขาตธรรมที่ตรัสไว้ชอบแล้ว
จงดำเนินไปตามความจริงนี้ ตายก็ตายไม่ต้องกลัว เพราะจิตไม่ได้ตาย
แต่ขอให้รู้อยู่กับตัวว่าอะไรที่แสดงขึ้นเวลานี้ มีทุกขเวทนา เป็นต้น
มันเป็นอย่างไร ทุกขเวทนาดูให้ทราบตามความจริงของมัน
เมื่อทราบความจริงแล้ว ทุกขเวทนาก็สักแต่ว่าธรรมชาติอันหนึ่งเท่านั้น
ไม่ปรากฏว่ามีความหมายร้ายดีแต่อย่างใด และไม่ปรากฏว่าเป็น
ข้าศึกต่อผู้ใด
เป็นความจริงของมันอย่างเต็มตัวที่แสดงขึ้นมาตามหลักธรรมชาติเท่านั้น


กาย ก็เป็นความจริงของกายที่ปรากฏตัวอยู่ตามหลักธรรมชาติของตน
จิตก็เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง ที่เป็นความรู้ประจำตน ไม่ได้ไปคละเคล้ากับสิ่งใด


เมื่อพิจารณารู้รอบแล้ว จิตก็ถอนตัวออกมาเป็นความจริงของตัวอย่างสมบูรณ์
ทุกขเวทนาเขาก็มีความสมบูรณ์ตามธรรมชาติของเขา
กายก็มีความสมบูรณ์ตามธรรมชาติของตน
โดยที่จิตไม่ไปแยกส่วนแบ่งส่วนวุ่นวายกับเขา
เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ไม่มีอะไรกระทบกระเทือนกัน
ทุกข์ จะทุกข์ขนาดไหนก็ไม่กระเทือนถึงจิต
ยิ้มได้ในขณะที่ทุกข์กำลังเกิดอยู่มากมายนั้นเอง
ยิ้มได้! เพราะจิตเป็นอันหนึ่ง ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเวทนา
คือ ไม่เข้าไปคละเคล้ากับเวทนานั้นให้เผาลนตนเอง ใจก็สบาย


นี้แลการพิจารณาทุกขเวทนาให้รู้รอบ
โดยเอาเวทนานั้นเป็นสนามรบ
เป็นหินลับปัญญา เป็นสถานที่ลับปัญญาให้คมกล้าขึ้น
ด้วยการพิจารณาแยกแยะทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น แยกแยะดูกาย แยกแยะดูเวทนา
อันใดจะดับก่อนดับหลังก็ให้ทราบตามความจริงของมัน
มันมีความเกิด ความดับ ประจำตัวอยู่อย่างนั้นแต่ไหนแต่ไรมา
เราจะรู้ก็ตามไม่รู้ก็ตาม สิ่งเหล่านี้มีเป็นหลักธรรมชาติของตัวอยู่อย่างนั้น
เป็นแต่เพียงพิจารณาให้เห็นตามความจริงของมัน
จึงไม่ปีนเกลียวกับธรรม เราก็อยู่สบาย


เอ้า! จะตายก็ตายซิ ตามโลกเขาสมมุตินิยมว่า ตาย
ตายมันเป็นอย่างไร จึงเรียกว่า ตายกายมันแตก เอ้า แตกไป
อะไรสลายก็สลายลงไป ผู้ไม่สลายก็อยู่ อะไรไม่สลาย ก็คือจิตนี่เอง


ใจนี้เมื่อสร้างปัญญาเป็นหลักเป็นเกณฑ์ขึ้นภายในตนแล้วเป็นอย่างนั้น
ไม่มีความหวั่นไหวต่อความล้มความตาย จิตมีความแกล้วกล้าสามารถ


นี่แหละการพิจารณาเรื่องของตัว คือเรื่องของจิต
พิจารณาเช่นนี้ เราไม่ต้องกลัวตาย กลัวไปทำไม
พระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้กลัว ธรรมไม่สอนให้กลัว
ความจริงไม่เป็นสิ่งที่น่ากลัว เพราะเป็นความจริง
จะน่ากล้าน่ากลัวที่ตรงไหน กล้าก็ไม่น่ากล้า กลัวก็ไม่น่ากลัว
นี่หมายถึงการถึงความจริงล้วนๆ แล้ว
ไม่มีคำว่า
กล้าว่า กลัวเหลืออยู่ภายในใจเลย
มีเฉพาะ
ความบริสุทธิ์อย่างเดียว

(โปรดติดตามเนื้อหาต่อในฉบับหน้า)

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

จาก พระธรรมเทศนา "พิจารณาทุกขเวทนา"
ใน ธรรมชุดเตรียมพร้อม โดย ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน




แบ่งปันบทความนี้ให้เพื่อนๆ
Facebook! Twitter! Del.icio.us! Free and Open Source Software News Google! Live! Joomla Free PHP