จุดหมายปลายธรรม Destination@Dharmma

ความสามัคคี


งดงาม
This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it



265 destination



ข่าวที่โด่งดังไปทั่วโลกในเวลานี้ได้แก่ข่าวการประท้วงที่ฮ่องกง
ซึ่งเป็นการประท้วงที่แปลก เพราะกลุ่มผู้ประท้วงต้องการให้ฮ่องกง
กลับไปอยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร
และขอให้สหรัฐอเมริกาเข้ามาแทรกแซงประเทศจีนในเรื่องนี้ด้วย
แตกต่างจากอดีตที่ประเทศหรือเมืองที่ถูกประเทศตะวันตกปกครอง
จะประท้วงเพื่อขอพ้นจากการปกครองของประเทศตะวันตก
ผลของการประท้วงนี้ไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจและภาพลักษณ์ฮ่องกงดีขึ้น
แต่กลับทำให้เศรษฐกิจและภาพลักษณ์ฮ่องกงเสียหายมาก
ซึ่งจากการประท้วงที่ฮ่องกงนี้
เห็นว่าเราน่าจะนำเรื่องความสามัคคีมาสนทนาครับ


ธรรมะที่ได้เคยยกมากล่าวอยู่เรื่อย ๆ ในเรื่องความสามัคคีนี้ ได้แก่
“อปริหานิยธรรม ๗” ได้แก่ ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม
เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว สำหรับหมู่ชนหรือผู้บริหารบ้านเมือง
ประกอบด้วย ๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
๒. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม
พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงทำ
๓. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ (อันขัดต่อหลักการเดิม)
ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้ (ตามหลักการเดิม)
ถือปฏิบัติมั่นตามวัชชีธรรม (หลักการ) ตามที่วางไว้เดิม
๔. ท่านเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่ในชนชาววัชชี เคารพนับถือท่านเหล่านั้น
เห็นถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันควรรับฟัง
๕. บรรดากุลสตรีกุลกุมารีทั้งหลาย ให้อยู่ดี โดยมิถูกข่มเหง หรือฉุดคร่าขืนใจ
๖. เคารพสักการะบูชาเจดีย์ (ปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ
ตลอดถึงอนุสาวรีย์ต่างๆ) ของวัชชี (ประจำชาติ) ทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก
ไม่ปล่อยให้ธรรมิกพลีที่เคยให้เคยทำแก่เจดีย์เหล่านั้นเสื่อมทรามไป
๗. จัดให้ความอารักขา คุ้มครอง ป้องกัน อันชอบธรรม แก่พระอรหันต์ทั้งหลาย
ตั้งใจว่า ขอพระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังมิได้มา พึงมาสู่แว่นแคว้น
ที่มาแล้วพึงอยู่ในแว่นแคว้นโดยผาสุก
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=289
http://www.84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=23&item=20&items=1&preline=0&pagebreak=0
แม้แคว้นมคธซึ่งเป็นอริก็ยอมรับว่า เมื่อชาววัชชียังปฏิบัติตามหลักธรรมนี้
ย่อมจะเอาชนะด้วยการรบไม่ได้ แต่ต้องยุแยงให้แตกสามัคคีเสียก่อน
แคว้นมคธจึงได้ส่งวัสสการพราหมณ์ไปอยู่ในแคว้นวัชชี
เพื่อทำการยุยงให้ชาววัชชีแตกสามัคคีกัน
ซึ่งต่อมาเมื่อแตกสามัคคีแล้ว แคว้นมคธก็เข้ายึดแคว้นวัชชีได้โดยง่าย
ฉะนั้นแล้ว ในบ้านเมืองที่แตกความสามัคคีกันนั้น
ย่อมจะก่อให้เกิดความเสียหายถึงขนาดสูญเสียบ้านเมืองได้เลยทีเดียว


ในทางกลับกัน ความสามัคคีย่อมจะช่วยเหลือ
ให้หมู่คณะสามารถเอาชนะศัตรูที่ร้ายกาจได้
ใน “อรรถกถา วัฑฒกีสูกรชาดก” ได้เล่าถึงเรื่องของเหล่าสุกร
ที่สามัคคีกันทำให้สามารถเอาชนะเสือโคร่งได้
แม้เทวดาในป่าที่ได้เห็นความอัศจรรย์อันนั้น ได้ปรากฏและกล่าวสรรเสริญว่า
“ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแก่หมู่สุกรที่มาประชุมกัน
ข้าพเจ้าได้เห็นมิตรภาพอันน่าอัศจรรย์ ควรสรรเสริญ จึงขอกล่าวสรรเสริญไว้
หมูทั้งหลายผู้มีเขี้ยวเป็นกำลังได้ชนะเสือโคร่งด้วยสามัคคีอันใด
ก็พากันพ้นมรณภัยด้วยสามัคคีอันนั้น เพราะกำลังแห่งเขี้ยวทั้งหลาย”
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=448


ใน “โมทสูตร” (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย) ได้สอนว่า
ธรรมอย่างหนึ่งเมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก
เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก
เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย คือ สังฆสามัคคี
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์พร้อมเพรียงกันอยู่ ย่อมไม่มีการบาดหมางซึ่งกันและกัน
ไม่มีการบริภาษซึ่งกันและกัน ไม่มีการขับไล่ซึ่งกันและกัน
เพราะสังฆสามัคคีนั้น ชนทั้งหลายผู้ยังไม่เลื่อมใสย่อมเลื่อมใส
และชนผู้เลื่อมใสแล้วย่อมเลื่อมใสยิ่ง ๆ ขึ้นไป
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=4695&Z=4714&pagebreak=0


ในทางกลับกัน ใน “เภทสูตร” (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย) สอนว่า
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งเมื่อเกิดขึ้นในโลก
ย่อมเกิดขึ้นเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ความสุขแก่ชนหมู่มาก
เพื่อความฉิบหายแก่ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เกื้อกูล
เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย คือ สังฆเภท
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์แตกกันแล้วย่อมมีการบาดหมางซึ่งกันและกัน
มีการบริภาษซึ่งกันและกัน มีการดูหมิ่นซึ่งกันและกัน มีการขับไล่ซึ่งกันและกัน
เพราะสงฆ์แตกกันนั้น ชนทั้งหลายผู้ยังไม่เลื่อมใสย่อมไม่เลื่อมใส
และผู้เลื่อมใสบางพวกย่อมเป็นอย่างอื่นไป
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=4676&Z=4694&pagebreak=0


ในเรื่องการสร้างความสามัคคีขึ้นนั้น
ใน “สาราณิยสูตร” (พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย) ได้สอนถึง
“สาราณิยธรรม ๖ ประการ” ได้แก่ ธรรมที่ทำให้เป็นที่ระลึกถึง ทำให้เป็นที่รัก
ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท
เพื่อความสามัคคี และเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ดังนี้
๑. ตั้งเมตตากายกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
คือ ช่วยเหลือกิจธุระของผู้ร่วมคณะด้วยความเต็มใจ แสดงกิริยาอาการสุภาพ
เคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
๒. ตั้งเมตตาวจีกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
คือ ช่วยบอกแจ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ สั่งสอน แนะนำตักเตือนด้วยความหวังดี
กล่าววาจาสุภาพ แสดงความเคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
๓. ตั้งเมตตามโนกรรม ในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
คือตั้งจิตปรารถนาดี คิดทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน
มองกันในแง่ดี มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสต่อกัน
๔. ได้ของสิ่งใดมาก็แบ่งปันกัน คือ เมื่อได้สิ่งใดมาโดยชอบธรรม
แม้เป็นของเล็กน้อย ก็ไม่หวงไว้ผู้เดียว นำมาแบ่งปันเฉลี่ยเจือจาน
ให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอยบริโภคทั่วกัน
๕. มีศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย
ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ มีความประพฤติสุจริตดีงาม
ถูกต้องตามระเบียบวินัย ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจของหมู่คณะ
๖. มีทิฏฐิดีงามเสมอกันเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
คือ มีความเห็นชอบร่วมกัน ในข้อที่เป็นหลักการสำคัญ
ที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น สิ้นทุกข์ หรือขจัดปัญหา
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%CA%D2%C3%D2%B3%D5%C2%B8%C3%C3%C1
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=6859&Z=6885&pagebreak=0


ในเรื่องของการสร้าง “สังฆสามัคคี” นั้น
ใน “อุปาลิสามัคคีสูตร” (พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย) สอนว่า
สงฆ์ย่อมเป็นผู้พร้อมเพรียงกันด้วยเหตุวัตถุ ๑๐ ประการนี้ ได้แก่
ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมว่าไม่ใช่ธรรม ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่าเป็นธรรม ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่เป็นวินัยว่าไม่เป็นวินัย ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นวินัยว่าเป็นวินัย ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้กล่าวไว้ไม่ได้บอกไว้
ว่าตถาคตไม่ได้กล่าวไว้ไม่ได้บอกไว้ ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตกล่าวไว้บอกไว้ว่าตถาคตกล่าวไว้บอกไว้ ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่เคยประพฤติมาว่า ตถาคตไม่เคยประพฤติมา ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตเคยประพฤติมาว่า ตถาคตเคยประพฤติมา ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติว่า ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่าตถาคตบัญญัติไว้ ๑
ด้วยเหตุวัตถุ ๑๐ ประการข้างต้น ภิกษุย่อมไม่ทอดทิ้งกัน ไม่แยกจากกัน
ไม่ทำสังฆกรรมแยกจากกัน ไม่สวดปาติโมกข์แยกจากกัน
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=1792&Z=1806&pagebreak=0


นอกจากนี้ ใน “ภัณฑนสูตร” (พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย)
ยังได้สอนเรื่องของการสร้าง “สังฆสามัคคี” ว่า
ธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพกัน
ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกัน
สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คือ
๑. ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. ภิกษุเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมามาก
ทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิซึ่งธรรมทั้งหลาย
๓. ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
๔. ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
เป็นผู้อดทน มีปรกติรับคำพร่ำสอนโดยเคารพ
๕. ภิกษุเป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในกรณียกิจ
ทั้งสูงทั้งต่ำของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย
ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในกรณียกิจนั้น
เป็นผู้สามารถเพื่อทำ เพื่อจัดได้
๖. ภิกษุมีความใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรมอันเป็นที่รัก
มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัย
๗. ภิกษุผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย
เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง
มีความบากบั่นมั่นคงไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย
๘. ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ ตามมีตามได้
๙. ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง
ระลึกนึกถึงกิจที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้
๑๐. ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา
เครื่องพิจารณาเห็นความเกิด ดับ
เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=2138&Z=2221&pagebreak=0


การทำให้หมู่คณะสามัคคีกันย่อมเป็นกุศลและให้คุณแก่ผู้กระทำ
ยกตัวอย่างเช่น ใน “อานันทสังฆสามัคคีสูตร” (พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย) และ“โมทสูตร” (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย) สอนว่า
บุคคลผู้สมานสงฆ์ผู้แตกกันแล้วให้พร้อมเพรียงกันนั้น
จะบันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัปหนึ่ง
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=1832&Z=1862&pagebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=4695&Z=4714&pagebreak=0


ในทางกลับกัน การยุงทำให้หมู่คณะแตกแยก
ย่อมเป็นบาปอกุศลและให้โทษแก่ผู้กระทำ ยกตัวอย่างเช่น
ใน “อานันทสังฆเภทสูตร” (พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย)
และ “เภทสูตร” (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย) สอนว่า
บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ยินดีแล้วในการแตกแยก ตั้งอยู่ในอธรรม
เป็นผู้เข้าถึงอบาย เข้าถึงนรก ตั้งอยู่ในนรกนั้นตลอดกัปหนึ่ง
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=1807&Z=1831&pagebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=4676&Z=4694&pagebreak=0



แบ่งปันบทความนี้ให้เพื่อนๆ
Facebook! Twitter! Del.icio.us! Free and Open Source Software News Google! Live! Joomla Free PHP