จุดหมายปลายธรรม Destination@Dharmma

คนไม่มีศาสนา


งดงาม
This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it



240 destination



บางท่านอาจจะเข้าใจว่า คนไม่มีศาสนานั้นมีจำนวนไม่มาก
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในโลกปัจจุบันนี้
คนที่ไม่มีศาสนาหรือไม่นับถือศาสนาใดเลยนั้น มีเป็นจำนวนมากครับ
โดยจากข้อมูลในปี ค.ศ. ๒๐๑๒ ประมาณการว่า
ในจำนวนประชากรโลก ๗ พันกว่าล้านคน
สามารถแบ่งเป็นจำนวนผู้นับถือศาสนาต่าง ๆ ตามอันดับ ได้ดังต่อไปนี้


อันดับ / ศาสนา

จำนวนผู้นับถือ (ล้านคน)

ร้อยละต่อประชากรโลก

๑. ศาสนาคริสต์

,๔๐๐

๓๓%

๒. ศาสนาอิสลาม

,๘๐๐

๒๔%

๓. ผู้ไม่นับถือศาสนา

,๒๐๐

๑๖%

๔. ศาสนาฮินดู

,๑๕๐

๑๕%

๕. ศาสนาพุทธ

๕๒๐

%

https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_religious_populations


เราจะสังเกตได้ว่าจำนวนผู้ไม่นับถือศาสนาใดเลยในโลกนี้
มีจำนวนมากเป็นอันดับ ๓ โดยมากกว่าจำนวนผู้นับถือศาสนาพุทธเสียอีก


บางท่านอาจจะเข้าใจว่าคนจีนมีพันกว่าล้านคน
แล้วคนจีนส่วนใหญ่ก็นับถือศาสนาพุทธมิใช่หรือ
แต่จริง ๆ แล้วคนจีนเกือบครึ่งเป็นคนที่ไม่นับถือศาสนาใดนะครับ
แล้วก็มีอีกหลายร้อยล้านคนที่นับถือลัทธิต่าง ๆ ของจีน
เช่น ลัทธิขงจื้อ เป็นต้น ซึ่งก็ไม่ถือว่าเป็นศาสนาพุทธครับ


จำนวนคนที่ไม่นับถือศาสนาใดเลยในโลกนี้
มีแนวโน้มจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ
แม้ในประเทศไทยเอง เราก็อาจจะเริ่มพบเห็นบางท่านตั้งคำถามว่า
เราจะเป็นคนที่ไม่นับถือศาสนาใดเลยได้ไหม
โดยเราสามารถเป็นคนดีได้โดยการทำตามกฎหมายใช่หรือไม่
ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว เราก็ไม่จำเป็นต้องนับถือศาสนาใดเลยก็ได้


ในเรื่องนี้ ผมเองขอแนะนำให้พิจารณา ดังต่อไปนี้นะครับ
๑. การที่เราปฏิบัติตามกฎหมายนั้นหมายความเพียงว่า
เราเป็นคนที่ปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น
แต่ไม่ได้หมายความว่าเราเป็นคนดีนะครับ
เพราะการปฏิบัติผิดศีลธรรมในบางเรื่องก็ไม่ได้ผิดกฎหมาย
ยกตัวอย่างเช่น การฆ่ามด แมลง หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อย
ย่อมถือว่าผิดศีล แต่ไม่ได้ผิดกฎหมายครับ
การพูดโกหกในหลายกรณี แม้ว่าจะไม่ได้ผิดกฎหมาย
แต่ก็ย่อมถือว่าเป็นการผิดศีล
การดื่มสุรา (ในสถานที่ที่มิได้ห้ามดื่ม)
ย่อมถือว่าผิดศีล แต่ไม่ได้ผิดกฎหมาย เป็นต้น


๒. กฎหมายไม่ได้บังคับห้ามเราเป็นคนตระหนี่
หรือบังคับว่าเราจะต้องทำทานนะครับ
หากเราจะทำตัวเป็นคนตระหนี่ไม่ทำทานเลย
หรือไม่ร่วมทำบุญทำทานช่วยเหลือผู้อื่นที่เขาตกทุกข์ได้ยากเลย
ก็ไม่ได้เป็นการผิดกฎหมายนะครับ
แต่การที่เราจะประพฤติตนเป็นคนตระหนี่
และไม่รู้จักที่จะทำทานช่วยเหลือผู้อื่นแล้ว
ก็ย่อมจะไม่ถือว่าเป็นคนดี


๓. ในเมื่อเราไม่นับถือศาสนาใด ๆ
จึงไม่มีหลักศาสนาที่จะนำมาพิจารณาข้อประพฤติแล้ว
แต่เราบอกว่า เราก็สามารถเป็นคนดีได้
คำถามคือ เราจะนำหลักใดมาประพฤติปฏิบัติเพื่อเป็นคนดี
และนำมาพิจารณาตัดสินว่าเราเป็นคนดีหรือไม่
เพราะในเมื่อเราไม่นับถือหลักคำสอนใด ๆ แล้ว
เราก็ไม่ต้องนำหลักคำสอนใด ๆ มาปรับใช้กับตนเอง
กรณีย่อมจะมีปัญหาว่า เราไม่มีหลักที่จะมาตัดสินว่าเราเป็นคนดี
และเราไม่มีหลักที่จะนำเป็นข้อปฏิบัติในชีวิตเพื่อที่จะเป็นคนดีอีกด้วย


บางท่านอาจจะบอกว่าเราก็สามารถคิดค้นหลักขึ้นมาเอง
เพื่อนำมาเป็นข้อปฏิบัติและตัดสินว่าตัวเราเป็นคนดีได้มิใช่หรือ
ในกรณีนั้น แนวโน้มมันก็จะลำเอียงเข้าข้างตนเองเสียมากกว่า
โดยจะไหลไปในทางที่ตนเองชื่นชอบ หรือตนเองปฏิบัติอยู่แล้ว
ทำให้หลงเข้าใจหรือตัดสินว่าตนเองเป็นคนดีอยู่แล้ว
ทั้งที่ความจริงแล้วอาจจะไม่ใช่เช่นนั้นก็ได้


๔. พุทธศาสนาไม่ได้สอนเพียงแค่ให้เป็นคนดีเท่านั้น
แต่พุทธศาสนาสอนให้มีปัญญาเข้าถึงความจริงว่า
แท้จริงแล้วนั้นไม่มีเรา กล่าวคือเหนือกว่าเป็นคนดีขึ้นไปอีก
เพราะแม้ว่าจะเป็นคนดีก็ตาม ก็ย่อมจะมีความทุกข์อย่างคนดีได้
แต่พุทธศาสนาสอนให้สามารถพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง
จึงเหนือยิ่งกว่าความเป็นคนดีขึ้นไป
ในเรื่องนี้ การปล่อยปละละเลยคำสอนในพุทธศาสนา
ย่อมจะเป็นการสูญเสียโอกาสที่ดีอย่างยิ่งในสังสารวัฏ
ที่เราได้มีโอกาสมาพบคำสอนในพระพุทธศาสนาแล้ว


อย่างไรก็ดี กรณีที่ได้มาพบคำสอนในพระพุทธศาสนา
แล้วไม่นับถือหรือไม่นำไปประพฤติปฏิบัตินั้น
ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ โดยก็เกิดขึ้นแล้วตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล
ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ได้พบพุทธศาสนาแล้ว จะต้องศรัทธาและนับถือทุกคน
โดยก็มีคนจำนวนมากที่ไม่นับถือพุทธศาสนาครับ


๕. การที่ดำเนินชีวิตโดยไม่มีหลักศาสนานั้นเป็นแนวทางเสี่ยง
เพราะเราไม่เชื่อว่าอบายภูมิมีจริง (เช่น ไม่เชื่อว่านรกอเวจีหรือเปรตภูมิมีจริง)
เราคิดค้นหลักการดำเนินชีวิตเอาเอง โดยเข้าใจว่าเราเป็นคนดีแล้ว
แต่ถ้าหากหลักการดำเนินชีวิตนั้นมันผิด แล้วอบายภูมิก็มีจริงล่ะ
ก็เท่ากับว่าเราประพฤติผิดเพื่อเดินทางไปสู่อบายภูมินั่นเอง
โดยเวลาที่ต้องไปอยู่อบายภูมินั้นก็เป็นเวลาที่แสนยาวนานมาก
จึงไม่คุ้มค่ากับการที่เราจะมาเสี่ยงในชีวิตนี้


ในทางกลับกันแล้ว หากเราจะพิจารณาว่า
ข้อดีของการไม่นับถือศาสนาใดเลยมีอะไรบ้าง?
ผมกลับไม่เห็นข้อดีใด ๆ นะครับ
บางท่านอาจจะอ้างว่าการไม่นับถือศาสนาใด ๆ เลย
จะทำให้ไม่งมงาย หรือไม่ถูกศาสนามอมเมาก็ตาม
ผมกลับเห็นว่าเหตุผลนั้นไม่จริงครับ
เพราะคำสอนในพุทธศาสนาไม่ได้สอนให้งมงาย และไม่ได้มอมเมา
โดยเป็นคำสอนที่สอนให้เราเชื่อในกฎแห่งกรรม และพึ่งตนเอง


บางท่านอาจจะแย้งว่า เรื่องเทวดาหรือเรื่องชาติก่อนเป็นเรื่องพิสูจน์ไม่ได้
แต่จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องที่สามารถพิสูจน์ได้นะครับ
เพียงแต่วิธีพิสูจน์นั้นไม่ได้ใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เท่านั้นเอง
โดยในสามัญญผลสูตรท่านก็ได้สอนวิธีการให้แล้ว ยกตัวอย่างเช่น
“ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด
คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตธาตุ
อันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์” หรือ
“ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ
เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก” เป็นต้น
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=1072&Z=1919&pagebreak=0


นอกจากนี้แล้ว คำสอนมากมายในพุทธศาสนาก็เป็นคำสอนที่รู้ได้ด้วยตนเอง
เช่น เราย่อมรู้ได้ด้วยตนเองว่า
โลภะ โทสะ และโมหะ ย่อมเป็นอกุศล มีโทษ และผู้รู้ติเตียน
อโลภะ อโทสะ อโมหะ ย่อมเป็นกุศล มีประโยชน์ และผู้รู้สรรเสริญ
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่เราสามารถรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นต้น


แต่ในส่วนที่มีศาสนิกชนบางกลุ่มหรือบางคนที่สอนหรือเชื่อ
ในสิ่งงมงาย หรือในสิ่งที่มอมเมานั้น เป็นเรื่องส่วนบุคคล
ที่ไม่ได้เข้าถึงแก่นแห่งคำสอนในพุทธศาสนา
ในขณะเดียวกัน การที่เราไม่นับถือศาสนาใด ๆ เลย
ย่อมไม่มีหลักประพฤติปฏิบัติให้พิจารณาหรือยึดถือเลย
จึงย่อมมีความเสี่ยงมากกว่าที่เราจะหลงประพฤติปฏิบัติในสิ่งผิด ๆ
หรือค้นข้อประพฤติปฏิบัติใด ๆ ขึ้นมาเองแบบผิด ๆ
ซึ่งนั่นย่อมจะเป็นความเสี่ยงหรือเป็นโทษที่น่ากลัวมากกว่าครับ


แบ่งปันบทความนี้ให้เพื่อนๆ
Facebook! Twitter! Del.icio.us! Free and Open Source Software News Google! Live! Joomla Free PHP