จากใจ บ.ก.ใกล้ตัว Lite Talk

ฉบับที่ ๒๓๗ การละเวรแบบพุทธ



237 talk



ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน
การจองเวร
นับเริ่มจากการเจ็บใจแล้วผูกใจ
หมายความว่า
แม้สัตว์เอาชีวิตกันมากินเป็นอาหาร
แต่ถ้าตายแบบไม่รู้ตัวว่า
โดนเสือสิงห์หรือมนุษย์ที่ไหนฆ่า
ไม่ทันได้เห็นหน้า ไม่ทันได้ผูกใจเจ็บ
ก็ไม่เกิดเวร
ก่อนตายมีแต่ความกลัวตาย
กับความตระหนกตกใจเท่านั้น
ไม่ทันได้ผูกเวรกับเขา


ในทางกลับกัน
แค่เจอหน้าคน
แล้วรู้สึกว่าตนเป็นฝ่ายถูกกระทำ
คือ โดนทำให้เจ็บ โดนทำให้รู้สึกต่ำต้อย
ค่าที่อีกฝ่ายเหนือกว่า มีดีมากกว่า
เห็นบ่อยๆ เจ็บบ่อยๆ
เลยเกิดความคิดผูกไว้ในใจว่า 
อยากดึงลงมากระชากลากถู
อยากทำให้เสื่อมเสีย จะได้เท่าๆกัน
แค่นี้ก็นับเป็นการผูกเวรแล้ว
แม้จะเป็นการผูกอยู่ฝ่ายเดียวก็ตาม


แค่คิด
เวรก็เริ่มแล้ว!


เมื่อเกิดการผูกเวร
ทั้งสองฝ่าย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
จะมีตัวเองเป็น ‘ขั้วเวร’
รอเวลาเหมาะให้ดึงดูดขั้วตรงข้าม
มาทำร้ายจิตใจ
หรือถึงขั้นทำลายชีวิตกัน
แบบไม่มีพรมแดนภพภูมิ
เช่น อาจเป็นคู่เวรระหว่างมนุษย์กับมนุษย์
มนุษย์กับสัตว์ มนุษย์กับเปรต 
มนุษย์กับเทวดา
ขอเพียงได้เวลาเหมาะ
กระแสภัยเวรจะก่อให้เกิด
สถานการณ์น่าเจ็บใจกันขึ้นมา
แล้วเหมือนมีแรงผลักดันให้อยากทำร้ายกัน


ฉะนั้น หากอยากสำรวจ ให้สังเกตว่า
คุณมีใครเป็นคู่เวรอยู่บ้าง
ก็ไม่ต้องดูตอนเอ่ยปากขอจองเวร
ไม่ต้องดูตอนลงมือประทุษร้ายกันไปแล้ว
แต่ดูแค่ใจตัวเองดวงเดียวพอ
ดูว่ามันเจ็บแน่น
ดูว่ามันมีกระแสความประสงค์ร้าย
แล่นออกไปปะทะเขาไหม
นั่นแหละ เครื่องหมายของโซ่ตรวนแห่งภัยเวร
ที่ผูกเราไว้กับเขา


สมัยนี้เห็นๆกัน เมื่อเกิดจองเวรแล้ว
คู่เวรจะคิดทำอะไร ใช้วิธีไหน
อยากลงมือเมื่อใด ไม่มีใครคาดได้
ห้ามไม่ได้ ขอร้องให้คำนึงถึงศักดิ์ศรีไม่ได้
ใหญ่แค่ไหนก็ระวังตัวยาก
ถ้าคู่เวรคิดดับเครื่องชน
คิดว่าตายเป็นตายเสียอย่าง


การละเวรแบบพุทธ
ท่านให้เอาความสุขมาชะล้าง
โดยคิดถึงความสุขอันเกิดจากการไม่ต้องมีภัยเวร
จากนั้นก็มีสติสำรวจเข้าไปง่ายๆ ตรงๆ ว่า
นี่เรายังเจ็บใครอยู่
ในความเจ็บใจ มีใบหน้าใครเกิดขึ้นได้บ้าง
แล้วมองว่า นั่นแหละโซ่ตรวน
นี่แหละภัยของจริงที่ยังอยู่ในใจเรา
แค่พิจารณาไปเรื่อยๆเช่นนั้น
จิตจะค่อยๆเปลี่ยนจากขั้วเวรเป็นขั้วอภัย
รู้ได้เฉพาะตน และอาจเห็นได้กับตาว่า
ขั้วอภัยที่มีพลังสุข พลังว่างจากภัยเวร ถ้ามากพอ
ก็ปลดขั้วเวรของฝ่ายตรงข้ามตามไปด้วยได้จริง!



ดังตฤณ
มิถุนายน ๖๑




review



เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ประทับ ณ พระวิหารเชตวัน กรุงสาวัตถี
ได้ตรัสพระภาษิตแก่พระภิกษุทั้งหลาย เกี่ยวกับบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ
รายละเอียดอ่านได้ในคอลัมน์ "ธรรมะจากพระสูตร"
ตอน"ภัทเทกรัตตสูตร ว่าด้วยผู้มีราตรีเดียวเจริญ"


พระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์
ที่ว่า “ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น” นั้นมีความหมายที่แท้จริงว่าอย่างไร
ติดตามได้จากเรื่องราวที่คุณงดงามเรียบเรียงไว้
ในคอลัมน์"จุดหมายปลายธรรม" ตอน "ไม่ยึดมั่นถือมั่นธรรมทั้งปวง"


การที่มีพระธาตุเสด็จมาในสถานที่ต่างๆ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้จริงหรือไม่
และอะไรคือประโยชน์สูงสุดของการบูชาสิ่งแทนพระองค์พระพุทธเจ้า
หาคำตอบได้ในคอลัมน์ "ดังตฤณวิสัชนา"
ตอน "มีพระธาตุเสด็จมาตอนไปทำบุญที่วัด
เรื่องนี้จริงหรือไม่ และควรจะบูชาอย่างไร"



แบ่งปันบทความนี้ให้เพื่อนๆ
Facebook! Twitter! Del.icio.us! Free and Open Source Software News Google! Live! Joomla Free PHP