ธรรมะจากพระสูตร Dhamma from Sutta

อตีตานาคตปัจจุปันนอนิจจสูตร


กลุ่มไตรปิฎกสิกขา



อตีตานาคตปัจจุปันนอนิจจสูตร ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งขันธ์ ๕ ใน ๓ กาล


[๓๖] ณ กรุงสาวัตถี ที่นั้นแล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีต รูปที่เป็นอนาคต ไม่เที่ยง
จักกล่าวถึงรูปที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในรูปที่เป็นอนาคต
ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับรูปที่เป็นปัจจุบัน
เวทนาที่เป็นอดีต เวทนาที่เป็นอนาคต ไม่เที่ยง
จักกล่าวถึงเวทนาที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในเวทนาที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในเวทนาที่เป็นอนาคต
ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับเวทนาที่เป็นปัจจุบัน
สัญญาที่เป็นอดีต สัญญาที่เป็นอนาคต ไม่เที่ยง
จักกล่าวถึงสัญญาที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในสัญญาที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในสัญญาที่เป็นอนาคต
ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับสัญญาที่เป็นปัจจุบัน
สังขารที่เป็นอดีต สังขารที่เป็นอนาคต ไม่เที่ยง
จักกล่าวถึงสังขารที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในสังขารที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในสังขารที่เป็นอนาคต
ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับสังขารที่เป็นปัจจุบัน
วิญญาณที่เป็นอดีต วิญญาณที่เป็นอนาคต ไม่เที่ยง
จักกล่าวถึงวิญญาณที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในวิญญาณที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในวิญญาณที่เป็นอนาคต
ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับวิญญาณที่เป็นปัจจุบัน


อตีตานาคตปัจจุปันนอนิจจสูตร จบ







อตีตานาคตปัจจุปันนทุกขสูตร ว่าด้วยความเป็นทุกข์แห่งขันธ์ ๕ ใน ๓ กาล


[๓๗] ณ กรุงสาวัตถี ที่นั้นแล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีต รูปที่เป็นอนาคต เป็นทุกข์
จักกล่าวถึงรูปที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในรูปที่เป็นอนาคต
ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับรูปที่เป็นปัจจุบัน
เวทนาที่เป็นอดีต เวทนาที่เป็นอนาคต เป็นทุกข์
จักกล่าวถึงเวทนาที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในเวทนาที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในเวทนาที่เป็นอนาคต
ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับเวทนาที่เป็นปัจจุบัน
สัญญาที่เป็นอดีต สัญญาที่เป็นอนาคต เป็นทุกข์
จักกล่าวถึงสัญญาที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในสัญญาที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในสัญญาที่เป็นอนาคต
ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับสัญญาที่เป็นปัจจุบัน
สังขารที่เป็นอดีต สังขารที่เป็นอนาคต เป็นทุกข์
จักกล่าวถึงสังขารที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในสังขารที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในสังขารที่เป็นอนาคต
ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับสังขารที่เป็นปัจจุบัน
วิญญาณที่เป็นอดีต วิญญาณที่เป็นอนาคต เป็นทุกข์
จักกล่าวถึงวิญญาณที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในวิญญาณที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในวิญญาณที่เป็นอนาคต
ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับวิญญาณที่เป็นปัจจุบัน


อตีตานาคตปัจจุปันนทุกขสูตร จบ







อตีตานาคตปัจจุปันนอนัตตสูตร ว่าด้วยความเป็นอนัตตาแห่งขันธ์ ๕ ใน ๓ กาล


[๓๘] ณ กรุงสาวัตถี ที่นั้นแล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีต รูปที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา
จักกล่าวถึงรูปที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในรูปที่เป็นอนาคต
ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับรูปที่เป็นปัจจุบัน
เวทนาที่เป็นอดีต เวทนาที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา
จักกล่าวถึงเวทนาที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในเวทนาที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในเวทนาที่เป็นอนาคต
ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับเวทนาที่เป็นปัจจุบัน
สัญญาที่เป็นอดีต สัญญาที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา
จักกล่าวถึงสัญญาที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในสัญญาที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในสัญญาที่เป็นอนาคต
ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับสัญญาที่เป็นปัจจุบัน
สังขารที่เป็นอดีต สังขารที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา
จักกล่าวถึงสังขารที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในสังขารที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในสังขารที่เป็นอนาคต
ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับสังขารที่เป็นปัจจุบัน
วิญญาณที่เป็นอดีต วิญญาณที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา
จักกล่าวถึงวิญญาณที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในวิญญาณที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในวิญญาณที่เป็นอนาคต
ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับวิญญาณที่เป็นปัจจุบัน


อตีตานาคตปัจจุปันนอนัตตสูตร จบ



(อตีตานาคตปัจจุปันนอนิจจสูตร, อตีตานาคตปัจจุปันนทุกขสูตร และ
อตีตานาคตปัจจุปันนอนัตตสูตร พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ ๒๗)



แบ่งปันบทความนี้ให้เพื่อนๆ
Facebook! Twitter! Del.icio.us! Free and Open Source Software News Google! Live! Joomla Free PHP