จุดหมายปลายธรรม Destination@Dharmma

พัฒนาอย่างไม่ทุกข์


งดงาม
This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it



190 destination



เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา นายลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีประเทศสิงคโปร์
ได้กล่าวบรรยายในงาน National Day Rally2016 โดยมีข้อความว่า
Recently, somebody asked me at a dialogue
“If God appeared before you and asked you for three things
that you would want for Singapore, what would these be?”
I was taken aback. I thought for a while and replied:
If we wish for material things, we will regret it,
because after we have got it, we will not be satisfied and we will want more.
But what I would like is that we be blessed with a divine discontent –
always dissatisfied with where we are; always driven to do better.
And yet, that we have the wisdom to count our blessings,
so that we know how precious Singapore is,
and we know how to enjoy and protect it.
If just these two wishes are fulfilled, that will be enough.
Then we can keep on building something special in Singapore
for many more years, and “Achieve Happiness, Prosperity,
and Progress, for our nation”.
(ข้อมูลจาก Facebook Page ของ Lee Hsien Loong
วันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๘:๕๘ น.)
https://youtu.be/PfBfRYrLqRw?list=PLqvAkd0-laMcPEOywdB6wYjtZsEJu4Nrn


ผมขอแปลคำบรรยายดังกล่าวเป็นภาษาไทย ดังต่อไปนี้
เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีท่านหนึ่งได้ถามผมในการสนทนาคราวหนึ่งว่า
“ถ้าสมมติว่าพระเจ้าได้มาปรากฏต่อหน้าคุณ
และให้คุณขออะไรก็ได้ ๓ อย่างที่คุณต้องการสำหรับสิงคโปร์แล้ว
คุณจะขออะไร?”
ผมได้ฟังแล้วชะงักไป ผมคิดอยู่ชั่วครู่หนึ่ง แล้วก็ตอบว่า
ถ้าเราขอสิ่งซึ่งเป็นวัตถุสิ่งของแล้ว เราจะต้องเสียใจที่ได้ทำเช่นนั้น
เพราะว่าหลังจากที่เราได้วัตถุสิ่งของนั้นมาแล้ว
เราย่อมจะไม่พอใจ และเราย่อมจะต้องการได้มากขึ้นไปอีก


ดังนั้น สิ่งที่ผมปรารถนานั้นได้แก่
การที่เราได้รับพรศักดิ์สิทธิ์ว่า เราจะไม่พอใจอยู่เสมอในสิ่งที่เราเป็น
เพื่อที่เราจะได้พยายามพัฒนาให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
นอกจากนี้ ผมปรารถนาที่จะให้เรามีปัญญาที่จะยึดถือพรศักดิ์สิทธิ์นั้น
เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าสิงค์โปร์มีค่าเพียงใด
และเรารู้ว่าเราจะมีความสุขได้อย่างไร และจะปกป้องสิงค์โปร์ได้อย่างไร


ถ้าหากเราได้รับพรทั้ง ๒ ข้อตามที่ปรารถนาแล้ว ก็ย่อมจะเพียงพอแล้ว
นับจากนั้น เราย่อมสามารถสร้างสิ่งวิเศษให้แก่สิงค์โปร์ได้ต่อไปอีก
เป็นระยะเวลาแสนนานในอนาคต และย่อมทำให้ความสุข ความมั่งคั่ง
และความเจริญก้าวหน้าเกิดขึ้นแก่ประเทศของเรา”


ในเรื่องแนวทางการพัฒนานั้น คำบรรยายของนายลี เซียน ลุง
ได้แสดงถึงแนวทางในการพัฒนาในแนวทางหนึ่ง
ที่สอนให้เราไม่พอใจอยู่เสมอในสิ่งที่เราเป็น
เพื่อที่จะได้พยายามพัฒนาให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป
ซึ่งในอันที่จริงแล้ว การพัฒนาในแนวทางนี้ก็เป็น
แนวทางที่ประเทศส่วนใหญ่ในโลกและคนส่วนใหญ่ในโลกนี้
ได้ยึดถือปฏิบัติกันอยู่ กล่าวคือได้เท่าไรก็ยังไม่เพียงพอ
และอยากได้ดียิ่งขึ้น หรืออยากได้มากยิ่งขึ้นไปอีก
โดยอาศัยความอยากนี้ผลักดันให้ตัวเองพัฒนาขึ้นไปเรื่อย ๆ


แต่แนวทางดังกล่าวนั้นก็ไม่ได้เป็นทางเลือกเดียวสำหรับเรานะครับ
เรายังมีอีกทางเลือกหนึ่งที่ไม่ได้จำเป็นต้องใช้ความไม่พอใจ
หรือใช้ความอยากเป็นตัวผลักดันเราให้พัฒนาก็ได้
ในอีกแนวทางหนึ่งนั้น เราสามารถพอใจในสิ่งที่เราเป็น
แต่เราก็ไม่ได้หยุดที่จะพัฒนาตนเอง
โดยเราก็ยังขยันหมั่นเพียรที่จะพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
เพราะว่าเป็นหน้าที่ของเรา หรือเป็นสิ่งที่เราสมควรต้องทำ


หากจะเปรียบเทียบกับในทางธรรมแล้ว
ก็น่าจะเปรียบเทียบได้กับคำว่า “สันโดษ”
คำว่า “สันโดษ” แปลว่า ความยินดี ความพอใจ ยินดีตามมีตามได้
ยินดีของของตน การมีความสุขความพอใจด้วยเครื่องเลี้ยงชีพที่หามาได้
ด้วยความเพียรพยายามอันชอบธรรมของตน ไม่โลภ ไม่ริษยาใคร
ทั้งนี้ “สันโดษ ๓” ได้แก่
๑. “ยถาลาภสันโดษ” (ยินดีตามที่ได้) คือ
ได้สิ่งใดมาด้วยความเพียรของตน ก็พอใจด้วยสิ่งนั้น
ไม่เดือดร้อนเพราะของที่ไม่ได้ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของคนอื่น ไม่ริษยาเขา
๒. “ยถาพลสันโดษ” (ยินดีตามกำลัง) คือ
พอใจเพียงแค่พอแก่กำลังร่างกายสุขภาพและขอบเขตการใช้สอยของตน
ของที่เกินกำลังก็ไม่หวงแหนเสียดาย
ไม่เก็บไว้ให้เสียเปล่า หรือฝืนใช้ให้เป็นโทษแก่ตน
๓. “ยถาสารุปปสันโดษ” (ยินดีตามสมควร) คือ
พอใจตามที่สมควรแก่ภาวะ ฐานะ แนวทางชีวิต
และจุดหมายการบำเพ็ญกิจของตน
เช่น ภิกษุพอใจแต่ของอันเหมาะกับสมณภาวะ
หากได้ของใช้ที่ไม่เหมาะกับสมณภาวะ แต่จะมีประโยชน์แก่ผู้อื่น
ก็นำไปมอบให้แก่บุคคลอื่น เป็นต้น;
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%D1%B9%E2%B4%C9&original=1


ในคำว่า “สันโดษ” นี้ครูบาอาจารย์ท่านสอนว่า
ให้เราพึงสันโดษในผล แต่ไม่ได้สันโดษในเหตุ
หมายความว่าเราพึงขยันหมั่นเพียรสร้างเหตุ
ส่วนผลที่ได้นั้นเราก็พึงพอใจ ไม่ได้ไปอยากได้มากกว่าผลที่เราได้
ยกตัวอย่างเช่น ในการที่เราภาวนา เราก็ขยันหมั่นเพียรในการสร้างเหตุ
และเราก็พึงพอใจในผลที่ได้รับ โดยไม่ได้ไปโลภอยากได้ผลเกินกว่านั้น


ในทั้ง ๒ แนวทางในการพัฒนานี้ ในแนวทางแรกที่ใช้ความไม่พอใจ
หรือใช้ความอยากเป็นตัวผลักดันเราอยู่เสมอนี้
เราย่อมจะถูกโทสะหรือโลภะเผาผลาญใจไปเรื่อย
ชีวิตเราย่อมจะไม่มีความสุขตลอดเวลา
ซึ่งแม้ว่าจะพัฒนาไปได้เพียงไรก็ตามที
เราก็ไม่รู้จักพอใจ ยังอยากได้ดีกว่าหรือมากกว่า และไม่มีความสุข


ในอีกแนวทางหนึ่ง เราพัฒนาตนเองเพราะมีหน้าที่หรือเป็นสิ่งสมควรทำ
เราขยันหมั่นเพียรทำเต็มที่ และได้ผลเพียงไร เราก็พอใจและมีความสุข
เราย่อมไม่ถูกความไม่พอใจหรือความอยากเผาผลาญจิตใจให้เป็นทุกข์
แต่เราพอใจในสิ่งที่เรามีและพอใจที่สิ่งที่เราได้รับ
เราย่อมมีความสุขในระหว่างที่เราพัฒนาตนเองนั้น


ในเรื่องนี้ เราทุกคนย่อมมีทางเลือกของตนเองครับ
ว่าเราจะเลือกพัฒนาตนเองในแนวทางไหน



แบ่งปันบทความนี้ให้เพื่อนๆ
Facebook! Twitter! Del.icio.us! Free and Open Source Software News Google! Live! Joomla Free PHP