ธรรมะจากพระสูตร Dhamma from Sutta

ฐานสูตร ว่าด้วยลักษณะผู้มีศรัทธา


กลุ่มไตรปิฎกสิกขา



[๔๘๑] ภิกษุทั้งหลายผู้มีศรัทธาเลื่อมใสพึงรู้ได้ด้วยฐานะ ๓
ฐานะ ๓ อะไรบ้างคือเป็นผู้ใคร่ในการเห็นผู้มีศีลทั้งหลาย 
เป็นผู้ใคร่เพื่อจะฟังธรรม ๑ มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
อยู่ครองเรือนมีการบริจาคอันปล่อยแล้วมีมืออันล้างแล้ว ยินดีในการสละ
ควรแก่การขอพอใจในการให้และการแบ่งปัน 


ภิกษุทั้งหลายผู้มีศรัทธาเลื่อมใส พึงรู้ได้ด้วยฐานะนี้แล.


ผู้ใดใคร่ในการเห็นผู้มีศีลปรารถนาจะฟังพระสัทธรรม
กำจัดมลทินคือความตระหนี่เสียได้ผู้นั้นชื่อว่าผู้มีศรัทธา.


หมายเหตุ ส่วนหนึ่งจากอรรถกถาของฐานสูตรได้ยกตัวอย่าง
เรื่องของผู้มีความประสงค์จะพบท่านผู้ทรงศีล

และผู้ประสงค์จะสดับพระสัทธรรม ดังต่อไปนี้



เรื่องปาฏลีปุตตกพราหมณ์

เล่ากันมาว่าใกล้ประตูพระนครปาฏลีบุตรมีพราหมณ์คน
ได้ทราบเกียรติคุณของพระมหานาคเถระผู้อยู่ในกาฬวัลลิมณฑป
คิดกันว่าเราคนควรจะไปหาภิกษุนั้น
ดังนี้ทั้ง ๒ คนจึงออกจากพระนคร.คนหนึ่งถึงแก่กรรมในระหว่างทาง.
คนหนึ่งไปถึงฝั่งทะเลลงเรือที่ท่ามหาดิตถ์มาถึงอนุราธบุรีแล้ว
ถามว่ากาฬวัลลิมณฑปอยู่ที่ไหน?
ได้รับคำตอบว่าที่โรหนชนบท.
เขาไปถึงที่อยู่ของพระเถระตามลำดับ
ยึดเอาที่พักในเรือนซึ่งอยู่ห่างไกลใกล้จุลลนครคามได้ปรุงอาหารถวายพระเถระ
ถามถึงที่อยู่ของพระเถระเพื่อจะเข้าพบแต่เช้า
แล้วไปยืนอยู่ท้ายประชาชนเห็นพระเถระเดินมาแต่ไกลทีเดียว
ยืนอยู่ตรงนั้นแหละครู่หนึ่งไหว้แล้วเข้าไปหาอีก
จับข้อเท้า (ของพระเถระ) ไว้แน่นแล้วเรียนว่าพระคุณเจ้าสูงมากขอรับ.
ก็พระเถระไม่สูงเกินไปไม่ต่ำเกินไปมีขนาดพอดีทีเดียว.
ด้วยเหตุนั้นเขาจึงเรียนท่านอีกว่าพระคุณเจ้าไม่ได้สูงเกินหรอก
แต่คุณความดีของพระคุณเจ้าแผ่ไปตามน้ำทะเลสีคราม
ท่วมท้นถึงพื้นชมพูทวีปทั้งหมดแม้ผมนั่งอยู่ใกล้ประตูพระนครปาฏลีบุตร
ก็ได้ยินเกียรติคุณของพระคุณเจ้า. เขาได้ถวายภิกษาหารแด่พระเถระ
จัดแจงไตรจีวรของตนแล้วได้บวชในสำนักของพระเถระ.
ดำรงอยู่ในโอวาทของท่านแล้วได้บรรลุอรหัตผลโดย-วันเท่านั้น.



เรื่องพระเจ้าสัทธาติสสมหาราช

แม้พระเจ้าสัทธาติสสมหาราชตรัสถามว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ขอพระคุณเจ้าจงบอกพระผู้เป็นเจ้ารูปหนึ่งที่สมควรจะกราบไหว้.
ภิกษุทั้งหลายถวายพระพรว่าท่านกุชชติสสเถระผู้อยู่ในมังคลาราม.
พระราชาพร้อมด้วยบริวารเป็นอันมากได้เสด็จไปสิ้นระยะทางโยชน์.
พระเถระถามภิกษุสงฆ์ว่านั่นเสียงอะไร?
ภิกษุสงฆ์เรียนว่าพระราชาเสด็จมาเพื่อจะนมัสการพระคุณท่านขอรับ.
พระเถระคิดว่าจะมีงานอะไรในพระราชวังในเวลาที่เราแก่เฒ่า
จึงนอนบนเตียงที่พักกลางวันแล้ว ได้ขีดรอย (ลากไปมา) บนแผ่นดินอยู่.
พระราชาตรัสถามภิกษุสงฆ์ว่าพระเถระไปไหน ?
ทรงสดับว่าพระเถระจำวัดอยู่ในที่พักกลางวัน
จึงเสด็จไปที่นั้นเห็นพระเถระกำลังขีดรอยบนแผ่นดินอยู่
ทรงพระดำริว่าธรรมดาพระขีณาสพจะไม่มีการคะนองมือท่านผู้นี้ไม่ใช่พระขีณาสพ
จึงไม่ทรงไหว้เลยแล้วเสด็จกลับไป.


ภิกษุสงฆ์เรียนพระเถระว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ
เหตุไฉนใต้เท้าจึงก่อความเดือดร้อนพระทัยแก่พระราชาผู้ทรงเลื่อมใสอย่างนี้?
พระเถระกล่าวว่าอาวุโสทั้งหลายการรักษาพระราชศรัทธาไม่ใช่หน้าที่ของท่านทั้งหลาย
(
แต่) เป็นหน้าที่ของพระเถระผู้เฒ่าแล้วเมื่อจะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ในกาลต่อมาจึงกล่าวกะภิกษุสงฆ์ว่าท่านทั้งหลายจงลาดบัลลังก์แม้อื่นไว้บนกูฏาคารสำหรับเรา.
เมื่อภิกษุสงฆ์ปูลาดบัลลังก์แล้วพระเถระอธิษฐานว่า
ในระหว่างนี้ขอกูฏาคารนี้อย่าเพิ่งประดิษฐานเฉพาะในเวลาที่พระราชาทรงเห็นแล้ว
จึงค่อยประดิษฐานอยู่ที่พื้นดินแล้วปรินิพพาน.
กูฏาคารได้ลอยไปทางอากาศสิ้นระยะทางโยชน์.
ต้นไม้ที่พอจะปักธงได้ก็ได้ถูกปักธงไว้ตลอดระยะทางโยชน์
ทั้งกอไม้ทั้งพุ่มไม้ก็ได้เอนไปหากูฏาคารทั้งหมด.


ภิกษุทั้งหลายส่งข่าวไปทูลพระราชาว่าพระเถระปรินิพพานเสียแล้ว
กูฏาคารกำลังลอยมาทางอากาศ. พระราชาไม่ทรงเชื่อ.
กูฎาคารลอยมาทางอากาศกระทำประทักษิณถูปารามแล้วได้ไปถึงศิลาเจดียสถาน.
พระเจดีย์พร้อมทั้งสิ่งของได้ลอยขึ้นไปประดิษฐานอยู่เหนือยอดกูฏาคาร.
เสียงสาธุการตั้งพันก็ดังกระหึ่มขึ้น.
ในขณะนั้นท่านมหาพยัคฆเถระนั่งอยู่บนกูฏาคารชั้นใกล้โลหปราสาท
(กำลังทำวินัยกรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอยู่)
ฟังเสียง (สาธุการ) นั้นแล้วซักถามว่านั่นเสียงอะไร?
ภิกษุทั้งหลายเรียนว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญพระกุชชติสสเถระผู้อยู่ในมังคลารามปรินิพพานแล้ว.
กูฏาคารลอยมาทางอากาศสิ้นระยะทางโยชน์
นั่นเป็นเสียงสาธุการในเพราะกูฏาคาร (ที่ลอยมา) นั้น.


พระเถระกล่าวว่าอาวุโสทั้งหลายเราจักอาศัยท่านผู้มีบุญแล้วได้สักการะ
เหาะมาทางอากาศนั่นแล เข้าไปสู่กูฏาคารนั่งบนเตียงที่ ๒
แล้วปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.
พระราชาทรงถือเอาของหอมดอกไม้และจุรณจันทน์
แล้วเสด็จไปบูชากูฏาคารที่สถิตอยู่ในอากาศ.
ในขณะนั้นกูฏาคารได้ลอยมาประดิษฐานที่พื้นดิน.
พระราชารับสั่งให้ทำสรีรกิจด้วยสักการะเป็นอันมาก
แล้วทรงรับเอาพระธาตุไปสร้างเจดีย์.
ท่านผู้ทรงศีลเห็นปานนี้มีผู้ประสงค์จะพบเห็นเป็นธรรมดา.
พระเจ้าสัทธาติสสมหาราชจักเป็นอัครสาวกรูปที่ของพระศรีอาริยเมตไตรย (ในอนาคต).



เรื่องพระปิณฑปาติกเถระ

เล่ากันมาว่าภิกษุ๓๐รูปเข้าจำพรรษาบนเนินชื่อว่าควรวาฬะ
ทุกกึ่งเดือนในวันอุโบสถจะพูดกันถึงมหาอริยวงศ์
ที่พรรณนาถึงการสันโดษด้วยปัจจัยและการยินดีในภาวนา.
พระเถระผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งมาภายหลัง นั่งในที่กำบัง.
ลำดับนั้นงูขว้างค้อนตัวหนึ่งได้กัดท่าน เหมือนเอาคีมคีบเนื้อออกจากปลีแข้ง.
พระเถระมองดู เห็นงูขว้างค้อนคิดว่าวันนี้เราจักไม่ทำอันตรายแก่การฟังธรรม
จับงูใส่ลงในย่ามผูกปากย่ามไว้แล้ววางไว้ในที่ไม่ไกลนั่งฟังธรรมอยู่.
อรุณขึ้นไปพิษงูสงบพระเถระได้บรรลุผลทั้งสาม
พิษงูไหลออกจากปากแผลลงดินไปพระเถระผู้แสดงธรรมจบธรรมกถา
ได้มีในขณะเดียวกันนั่นแหละ.
ต่อนั้น พระเถระได้พูดว่าอาวุโสทั้งหลายเราจับโจรได้ตัวหนึ่ง
แล้วแก้ถุงย่ามออกปล่อยงูขว้างค้อนไป.
ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วจึงถามว่ามันกัดท่านเวลาไหนขอรับ.


พระเถระ. อาวุโสทั้งหลายเราถูกมันกัดตอนเย็นวันวาน.


ภิกษุ. ท่านขอรับเพราะเหตุไรท่านถึงทำกรรมหนักอย่างนี้.


พระเถระ. อาวุโสทั้งหลายถ้าเราจะพึงบอกว่าเราถูกงูกัดไซร้
เราจะไม่พึงได้อานิสงส์มีประมาณเท่านี้.
นี้เป็นเรื่อง (ตัวอย่าง) ของพระปิณฑปาติกเถระก่อน.



เรื่องภิกษุหนุ่มชาวติสสมหาวิหาร

ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งอยู่ประจำที่ติสสมหาวิหาร ใกล้บ้านหมู่ใหญ่
ได้ทราบว่าพระเถระผู้เทศน์มหาชาดกจักเทศน์มหาเวสสันดรพันคาถาในเมืองทีฆวาปี
จึงออกจากวัดมาสิ้นระยะทางโยชน์โดย (เดิน) วันเดียวเท่านั้น.
ในขณะนั้นเองพระเถระเริ่มแสดงธรรมแล้ว.
ภิกษุหนุ่มกำหนดได้เฉพาะคาถาสุดท้ายกับคาถาเริ่มต้น
เพราะเกิดความกระวนกระวายทางกาย โดยการเดินทางไกล.
ต่อจากนั้นในเวลาที่พระเถระกล่าวคำว่าอิทมโวจ (จบ) แล้วลุกออกไป
ภิกษุหนุ่มได้ยืนร้องไห้เสียใจว่าการเดินทางมาของเรา กลายเป็นของไร้ประโยชน์ไปแล้ว.
ชายคนหนึ่งได้ยินถ้อยคำนั้นแล้วได้ไปบอกพระเถระว่า
ท่านขอรับภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งมาจากติสสมหาวิหารด้วยหวังใจว่า
จักฟังธรรมกถาของพระคุณเจ้าเธอได้ยืนร้องไห้เสียใจว่า
การมาของเรากลายเป็นไร้ประโยชน์ไปเพราะมีความกระวนกระวายทางกาย.
พระเถระตอบว่าไปเถิดไปให้สัญญากับเธอว่าพรุ่งนี้เราจักแสดงธรรมนั้นซ้ำอีก.
ในวันรุ่งขึ้นเธอได้ฟังธรรมกถาของพระเถระแล้วได้บรรลุโสดาปัตติผล.



เรื่องหญิงชาวเมืองอุลลังคโกลิกัณณิ

ยังมีอีกเรื่องหนึ่งหญิงชาวอุลลังคโกลิกัณณิชนบทคนหนึ่งกำลังให้ลูกดื่มนม
ได้ฟังข่าวว่าพระมหาอภัยเถระผู้กล่าวคัมภีร์ทีฆนิกายจะแสดงอริยวังสปฏิปทาสูตร
จึงเดินทางไปสิ้นระยะทางโยชน์เข้าไปยังวิหาร
ในเวลาที่พระเถระผู้เทศน์ตอนกลางวันนั่งเทศน์อยู่ให้ลูกนอนบนพื้นดิน
ยืนฟังธรรมของพระเถระผู้เทศน์ในกลางวัน.
แม้พระเถระแสดงบทภาณก็ยืนฟังเหมือนกัน.
เมื่อพระเถระผู้เทศน์บทภาณลุกขึ้นแล้วพระมหาเถระผู้กล่าวทีฆนิกาย
ก็เริ่มแสดงมหาอริยวงศ์พรรณนาถึงการสันโดษด้วยปัจจัยและการยินดีด้วยภาวนา.
นางยืนประนมมือฟัง. พระเถระแสดงปัจจัยแล้วทำอาการจะลุกขึ้น.
นางจึงเรียนว่าท่านพระคุณเจ้าคิดว่าจักเทศน์อริยวงศ์ แล้ว(กลับจะไป)
ฉันโภชนะที่อร่อย
ดื่มน้ำที่มีรสหวานปรุงยาด้วยชะเอมเครือและน้ำมัน เป็นต้น
จึงลุกขึ้นในฐานะที่ควรจะแสดง (ธรรม).
พระเถระกล่าวว่าดีแล้วน้องหญิง แล้วเริ่มธรรมอันเป็นความยินดีในภาวนาต่อไป.
อรุณขึ้นไปพระเถระกล่าวคำว่าอิทมโวจอุบาสิกาได้บรรลุโสดาปัตติผล
(
อย่างนี้) ได้มีในขณะเดียวกัน.



เรื่องหญิงชาวบ้านกาฬุมพระ

หญิงอีกคนหนึ่งเป็นชาวบ้านกาฬุมพระอุ้มลูกไปยังจิตตลบรรพต
ด้วยคิดว่าจักฟังธรรมให้ลูกนอนอาศัยต้นไม้ต้นหนึ่งตนเองยืนฟังธรรม.
ในระหว่างรัตติภาคงูตัวหนึ่งได้กัดเด็กที่นอนอยู่ใกล้นาง ทั้งที่ดูอยู่
ด้วยเขี้ยว ๔ รอยแล้วหนีไป. นางคิดว่าถ้าเราจักบอกว่าลูกของเราถูกงูกัดไซร้
จักเป็นอันตรายแก่การฟังธรรมเมื่อเรายังเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ
เด็กคนนี้ได้เป็นลูกของเรามาหลายครั้งแล้วเราจักประพฤติธรรมเท่านั้น
แล้วยืนอยู่ตลอดทั้งยามประคองธรรมไว้ได้บรรลุโสดาปัตติผล
เมื่ออรุณขึ้นแล้วทำลายพิษ (งู) ในบุตรด้วยการทำสัจกิริยาแล้วอุ้มบุตรไป
คนเห็นปานนี้ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ใคร่การฟังธรรม.



ฐานสูตร จบ



(ฐานสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ ๓๔)



แบ่งปันบทความนี้ให้เพื่อนๆ
Facebook! Twitter! Del.icio.us! Free and Open Source Software News Google! Live! Joomla Free PHP