ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน : )

Started by พิมพ์พลอย, July 16, 2009, 04:26:34 pm

previous topic - next topic
Go Down

พิมพ์พลอย

 ::33:: ขอบคุณพี่หลิง คุณยุ คุณซัน คุณแดง มากๆๆๆๆ เลยนะคะ
ที่หมั่นเข้ามาให้กำลังใจกันอยู่เรื่อยๆ ^^

ช่วงนี้วุ่นๆ มากมายค่ะ เตรียมตัวไปปฏิบัติธรรม 9 วันที่ค่อนข้างเข้มข้น
แรกๆ ก้อตื่นเต้นไปกดๆ เอาไว้หน่อยนึง แต่ตอนนี้เริ่มคลายแล้วค่ะ

เสียดายจัง คุณยุมาทั้งที เลยอดไปทานข้าวด้วยกันเรยเนอะ
ไม่เป็นไร เอาไว้โอกาสหน้าละกัน

ดูแลรักษาสุขภาพกันด้วยนะค้า~

::01::

http://twitter.com/pitaploy
http://www.facebook.com/pitaploy
http://www.facebook.com/piimplloy

I'm just the one who has various dreams, trying to learn how to live this miracle life worthily and find the way to end the cycle of birth and death.

อิกคิว

สวัสดีครับน้องพิมพ์พลอย

ไม่ได้แวะมาเสียนานโมทนากับการที่จะได้ไปปฏิบัติธรรมนะครับ

มีเรื่องที่ผมเขียนลงในลานธรรมและในบล็อกไว้ตอนที่กลับจาก

การปฏิบัติธรรมที่ บ้านอารีย์จัดเมื่อเดือน กันยายน  จะขออนุญาต

เอามาลงให้อ่าน  เพื่อเตรียมตัวก่อนไป เอไม่รู้จะทันได้อ่านหรือเปล่า

เป็นการซักซ้อมความเข้าใจก่อนไปปฏิบัติในสถานที่จริง คิดว่าน่าจะมี

ประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ 

การเดินจงกรม

ขอบคุณนะครับที่แวะเข้ามาอ่านและมีความตั้งใจจริงในการปฏิบัติธรรม

ก่อนอื่นผมต้องขอออกตัวก่อนว่า ไม่ได้ต้องการจะแสดงว่ามีความรู้ความสามารถ
แต่อย่างไร เพียงแต่รู้สึกว่าผู้เริ่มปฏิบัติถ้าได้คุยกับคนที่เริ่มต้นมาใหม่ๆก็จะคุยกันได้ง่าย
เหมือนเด็กอนุบาลคุยกับเด็กอนุบาลด้วยกัน ถ้าอ่านแล้วดูไม่ค่อยมีประโยชน์ หรือ ผิดพลาดอย่างไรขอผู้รู้ช่วยแนะนำและต้องกราบขออภัยมาล่วงหน้าด้วยนะครับ

สภาวะในขณะเดินที่ผมสังเกตได้คือ การเดินนี้ก็คล้ายๆการนั่งสมาธิ คือ จะมีช่วงที่ไม่สงบเลยในช่วงแรก ต่อมาก็เป็นช่วงที่เป็นการเพ่งเท้า แล้วค่อยๆขยายมารู้ทั้งขา แล้วก็ค่อยๆรู้ถึงการขยับแขน รู้ถึงการขยับของไหล่ รู้ถึงหัว และต่อมาก็รู้ทั้งตัว

ทีนี้การรู้ตัวก็ต้องรู้แบบสบายๆ ไม่ได้รู้สึกแน่นๆ เพราะจงใจ ในขณะรู้ตัวก็มีการเข้าสมถะบ้าง เช่นมีความรู้สึกเบาๆบ้าง หรือมาเดินปัญญา(วิปัสสนา)เช่น ออกมารู้ความคิด อารมณ์ภายนอกที่มากระทบบ้าง สลับๆกัน แล้วแต่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น หลังจากนั้นก็อาจจะกลับมาไม่รู้อะไรอีกเลยก็ได้ อาจจะมีการข้ามขั้นก็ได้รู้เฉพาะเท้าแล้วรู้ทั้งตัวเลยโดยไม่ต้องค่อยๆไล่ขึ้นมา สำคัญก็คือต้องรู้แบบตามรู้ไม่จงใจที่จะรู้อะไรแค่ไหน บางวันก็อาจไม่รู้เรื่องอะไรเลย บางวันก็รู้ได้ดีตลอด นี่แหละความเป็นอนัตตาของจิต

ถ้าเราไปตั้งความจงใจในการรู้ตัวว่าจะต้องเป็นแบบไหนจะกลายเป็นเพ่งทันที เช่น ต้องการรู้ทั้งตัว ก็จะเป็นการเพ่งตัวทั้งตัว แทนที่จะเป็นรู้แบบธรรมดาๆ

เป็นประสบการณ์ที่เอามาแบ่งปันกัน เพื่อนๆเดินแล้วเป็นอย่างไรบ้างลองเล่าให้กันฟัง
บ้างนะครับ จะได้แลกเปลี่นนกัน เราคุยกันแบบเด็กอนุบาลนะครับ ไม่ต้องเกรงใจ



ทุกข์เป็นเหตุให้เกิดศรัทธา.... ศรัทธาเป็นเหตุให้เกิดความปีติปราโมทย์.... ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความสุข.... และความสุขเป็นเหตุ.... ให้จิตเข้าถึงความสงบได้

อิกคิว



ของฝากสำหรับเพื่อนๆสำหรับฝึกหัดดูจิต

ผมเพิ่งได้มีโอกาสไปปฏิบัติธรรมกับบ้านอารีย์ที่จัดร่วมกับกฟภ.รุ่นที่ 8
ในวันที่ 24-27 กันยายนที่ผ่านมา เป็นครั้งแรกที่ได้มีผู้ชี้แนะแนวทางการปฏิบัติแบบดูจิตที่สามารถถามข้อสงสัยได้ จากพี่วิทยากรที่มีเมตตา ถ่ายทอดประสบการณ์ของแต่ละคนให้ ผมเห็นว่าอาจจะเป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆ จึงขอบอกเล่าสิ่งที่ได้ยินมา ตามกำลังปัญญาที่ยังมีไม่มาก ผิดถูกก็ขอผู้รู้ได้ชี้แนะเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผมและเพื่อนๆต่อไปนะครับ

1. การติดเพ่ง

สิ่งที่ผิดในการปฏิบัติของเราทั่วๆไปคือการเพ่ง ที่เพ่งก็เพราะเป็นสิ่งเดียวที่เราทำได้ ส่วนใหญ่เราก็ไม่รู้ว่าเราเพ่ง เพราะไม่มีใครบอกเสียด้วย นี่แหละคือปัญหาใหญ่เลย



คำถาม เราเพ่งแล้วจะทำให้เรารู้ขึ้นมาได้ไหม อย่างไรเรียกว่าเพ่ง ?

การเพ่งคือการพยายามทำอะไรที่มากกว่ารู้ตามธรรมชาติ แท้จริงแล้วปกติเราสามารถรู้ตัวได้อยู่แล้ว ขอย้ำว่าปกติเราจะรู้ตัวได้อยู่แล้ว เช่นเดินเราก็รู้ว่าเดินแล้วเราก็ไปคิดเรื่องอื่นต่อ เราโกรธเราก็รู้ว่าโกรธแล้วเราก็โกรธต่อ



คนทั่วไปและนักปฏิบัติจะต่างกันนิดเดียวคือ คนทั่วไปรู้แล้วก็หลงตามอารมณ์ไปเลย แต่นักปฏิบัติก็แค่รู้บ่อยๆถึงสภาวะธรรมที่เกิดขึ้น เช่นโกรธแล้วก็รู้ว่าโกรธอยู่ โกรธอยู่ โกรธน้อยลง โกรธมากขึ้น หายโกรธแล้ว โกรธขึ้นมาอีกแล้ว



หรือถ้าการดูกายในการเคลื่อนไหว เช่นการเดินจงกรม เราก็เดินเหมือนเดินเล่นสบายๆ แขนจะเอาไว้ข้างหน้า ไข้วหลัง หรือ เดินแกว่งแขนก็ได้(ถ้าชำนาญแล้ว) เพียงแต่มีอะไรเกิดขึ้นกับใจให้รู้ก็คอยรู้บ่อยๆ ไม่ต้องบริกรรม ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ นับซ้าย ขวา ขอย้ำอีกครั้งว่าปกติเราจะรู้ตัวได้อยู่แล้วในขณะที่การเคลื่อนไหวของร่างกาย และจำไว้ว่านี่แหละการรู้กาย ไม่ใช่ไปทำอะไรมากกว่าที่ใจจะรู้ได้ ถ้าทำอะไรมากกว่ารู้ก็คือการกำหนด ซึ่งก็คือ การกด การเพ่งให้จิตนิ่งนั่นเอง ความรู้สึกขณะเพ่งคือ เราจะรู้สึกแต่เท้าที่สัมผัสพื้นแค่นั้นใจก็จะนิ่งๆ อันนี้เป็นการเพ่งเท้าเข้าแล้ว พอเดินไปคิดไปเรื่องนั้นเรื่องนี้ก็ให้รู้ตามหลังไปว่าคิดไปแล้ว หรือถ้าได้ยินอะไร ใจไหลไปก็ให้รู้ มองอะไรใจไหลไปก็ให้รู้



ถ้ายังไม่รู้ว่าเพ่งเป็นอย่างไร ก็ลองเดินหน้าสักสี่ก้าว เดินธรรมดาๆนี่แหละ และถอยหลังกลับมาสี่ก้าว ความรู้สึกเดินหน้าคือการรู้กาย ความรู้สึกขณะถอยหลังคือการเพ่ง ที่เพ่งก็เพราะกำหนดอยู่ที่เท้ากลัวไปชนอะไรเข้านั่นเอง การพยายามรู้ตัวอย่างต่อเนื่องโดยจิตไม่ทรงฌาน เป็นการเพ่ง ไม่ใช่การรู้ การรู้ก็ต้องมีรู้บ้างเผลอบ้างจะรู้ต่อเนื่องกันเป็นไปไม่ได้



ที่นี้มีข้อแนะนำนิดหนึ่งคือในการเดินจงกรมนี่ควรมีระยะประมาณ 25 ก้าว เป็นระยะที่พอดีในการเดิน แต่ถ้าสั้นกว่านั้นก็ไม่เป็นไร แล้วเมื่อเดินถึงปลายทางแล้วก็ให้หยุดสักครู่ กลับตัวแล้วหยุดสักครู่ก่อนเดินต่อไป ที่ให้ทำเช่นนี้เพื่อ เพราะในขณะกลับตัวโดยไม่หยุดสติจะหลุดไปได้ง่าย และเมื่อเริ่มเดินต่อไป เพื่อเราจะได้รู้ตัวก่อนเดินรอบใหม่



ศัตรูของการรู้ตัวก็คือการคิด เมื่อเราเดินแล้วคอยรู้ว่าจิตคิด จิตไหลไปทางไหนบ้าง ที่เหลือเมื่อมีใจตั้งมั่นขึ้นมาบ้างก็คือการรู้ตัวนี่เอง เราก็อาจจะมีความรู้สึกแบบนี้บ้างแล้ว แต่เรายังไม่รู้ว่านี่แหละรู้กายเป็นแล้ว



คำถาม แล้วการรู้กายในการเคลื่อนไหวแขน หรือ อิริยาบทอื่นๆ รู้อย่างไร?



ในแรกๆปฏิบัติจะเป็นการตามรู้กายที่เคลื่อนไหวไปแล้ว เช่นเรายกมือขึ้นมาขณะสนทนา แล้วเราค่อยรู้ตัวตามทีหลัง ถ้าจงใจรู้ให้ทันจะเป็นการเพ่งทันที

เมื่อมีสติเร็วขึ้นเราจะรู้ตัวได้ทันกับการเคลื่อนไหวได้เอง



คำถาม ความรู้สึกในการรู้ตัวนี่ เป็นอย่างไร?

รู้นี่รู้เบามากเพราะไม่มีเจตนาที่จะรู้ เปรียบเทียบแล้วเบาเท่ากับใช้คัตเตอร์กรีดกระดาษที่ซ้อนกันสองแผ่นให้แผ่นแรกขาดโดยไม่โดนแผ่นที่สอง ก็คิดดูว่าเบาแค่ไหน



คำถาม ถ้าติดเพ่งเสียแล้วทำอย่างไร?

ประการแรกอย่าไปทำต้นทางของการเพ่ง อันได้แก่ การจงใจปฏิบัติด้วยความอยาก หมายถึงมีความอยากปฏิบัติไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ ต้องคอยสังเกตให้ดี เพราะเมื่ออยากก็จะมีการกระทำทางใจทันที แล้วก็จะเป็นผลให้เกิดเจตนาที่จะเพ่งกายเพ่งใจให้รู้ได้มากๆรู้ได้ชัด ให้คอยรู้ทัน อย่าให้ตัณหานำหน้าในการปฏิบัติเป็นอันขาด



ประการที่สอง ส่วนใหญ่แล้วคนที่นั่งสมาธิบ่อยๆ จะติดเพ่งเนื่องจากการทำจิตให้สงบเราต้องเพ่งจิต ทำให้เราเผลอนำการเพ่งมาใช้ในการดูกายดูจิตอีก บางคนก็ติดประคองใจให้นิ่ง แถมท้ายจากการนั่งสมาธิมาอีกด้วย ซึ่งแก้ยาก เพราะใจที่นิ่งๆนี่เราจะชอบ และทำมันเป็นเครื่องอยู่ไปเสียแล้วแนะนำว่าควรเดิน ไม่ควรนั่ง การเดินแบบที่อธิบายมาจะทำให้มีสติได้ดีกว่าการนั่งซึ่งจะได้สมาธิมากกว่า



ทุกข์เป็นเหตุให้เกิดศรัทธา.... ศรัทธาเป็นเหตุให้เกิดความปีติปราโมทย์.... ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความสุข.... และความสุขเป็นเหตุ.... ให้จิตเข้าถึงความสงบได้

อิกคิว

คำถาม แล้วพี่ๆเดินกันนานแค่ไหน?



คำตอบคือ พี่คนแรก วันละ หนึ้งชั่วโมง อีกท่านวันละสองชั่วโมง คือ หนึ่งชั่วโมงตอนเช้า และ หนึ่งชั่วโมงตอนเย็น สาธุๆ ครับ ^^

2. คำถามอื่นๆ

คำถาม แล้วมีช่วงไหนที่ดูไม่ได้เลยมีไหมครับ?



มีโดยไม่ทราบสาเหตุ เนื่องจากจิตเป็นอนัตตา ควบคุมไม่ได้ ท่านแรก สองเดือน ท่านที่สอง สี่เดือน โอ้โฮนานจังเลย แล้วทำอย่างไรครับ



ประการแรก ก็ไม่ต้องตกใจ จิดเขามีธรรมชาติเรียนรู้และพัฒนาได้เอง ถ้าเราไม่ได้เสื่อมเพราะใช้ชีวิตผิดศีล มีเรื่องร้ายแรงเข้ามา เจ็บป่วยอย่างหนัก ทั้งๆที่ปฏิบัติดีๆนี่แหละก็เสื่อมเอง เมื่อเขาเรียนรู้พอ เขาก็จะมาดูจิตได้ต่อเอง



การวัดความเจริฐในการปฏิบัติธรรม ควรวัดกันเป็นไตรมาศ คือ สามเดือนครั้งเพราะว่าในแต่ละวันแต่ละช่วงจิตจะมีเจริญบ้าง เสื่อมบ้าง คือดูไม่ได้บ้าง ให้ดูภาพรวมว่าสามเดือนนี้ผลงานเป็นอย่างไร



คำถาม เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรายังอยู่ในทางไหม หรือนอกทางไปแล้ว?

หลวงพ่อท่านจะพูดให้เราฟังบ่อยๆว่า จิตที่เดินปัญญาแล้วเป็นอย่างไร เช่น มีความรู้สึกตัวได้เอง เห็นกายอยู่ส่วนกายจิตอยู่ส่วนจิต ฯลฯ ลองฟังในซีดีเองก็แล้วกัน



คำถาม จิตตื่นมีสภาวะเป็นอย่างไรครับ?

ก็คือจิตที่รู้กายและรู้ใจได้บ่อยๆเอง



คำถาม จิตไม่ถึงฐานเป็นอย่างไร?

มีสองความหมาย คือ จิตที่หลงไปพอใจกับความสุข แล้ว ไม่ดูกายดูจิต ออกนอกๆไปเสียแล้ว กับ จิตที่มีสมาธิไม่พอต้องทำตามรูปแบบให้มากขึ้น



3.ความรู้จากพี่ๆ



ธรรมะนี่เป็นคำๆเดียวกันกับ ธรรมชาคิ ธรรมดา ในการปฏิบัติธรรมเราสรุปได้คำเดียวคือคำว่า "รู้ " ในสติปัฏฐานมีคำที่เป็นหัวใจสำคัญคือคำว่ารู้



หายใจสั้นก็ให้รู้ หายใจยาวก็ให้รู้ จิตสงบก็ให้รู้ จิตฟุ้งซ่านก็ให้รู้ กายเป็นอย่างไรก็ให้รู้ เวทนาเป็นอย่างไรก็ให้รู้ ฯลฯ



การรู้คือการรู้ที่เป็นกลางนี่อยู่ระหว่างเพ่งและเผลอนี่เอง



เปรียบเหมือนลูกตุ้มที่ผูกเชือกแล้วแกว่ง แรกๆก็จะไปซ้าย ตรงกลางและไปขวามากๆ แล้วก็จะค่อยลดการแกว่งตามแรงที่ลดลงแล้วกลับมาเป็นกลางมากขึ้น เหมือนการปฏิบัติที่เราค่อยๆพัฒนาจนเป็นรู้มากขึ้น



ในการปฏิบัติแรกๆ ก็จะมีเพ่งมาก และ เผลอนาน เมื่อเรารู้บ่อยๆ ก็จะเพ่งน้อยลงและ เผลอสั้นขึ้น จนสุดท้ายจะสามารถรู้ได้บ่อยๆ



เมื่อรู้แล้ว เราก็ทำบ่อยๆขยันทำ เหมือนเติมน้ำลงไปในขวดน้ำที่มีฉลากปิดไว้มองไม่เห็นน้ำในนั้น ทุกคนก็มีขวดเท่าๆกัน เติมได้ครั้งละไม่ต่างกัน เหมือนถ้าใช้ขันน้ำเทน้ำเข้าขวดน้ำก็กระฉอกออกหมด เรามีหน้าที่ทำไปแค่นั้นเอง คนที่ประสบความสำเร็จคือคนที่หมั่นเติมน้ำจนเต็มขวดแค่นั้นเอง ไม่ใช่นานๆเติมทีก็ไม่มีวันเต็มได้



พี่ถามว่า "น้ำในขวดและน้ำหยดสุดท้ายที่ทำให้ขวดเต็มเหมือนกันไหม?"

น้อง "เหมือนกันครับ"

พี่ "ใช่แล้ว ความรู้ตัวที่เราสั่งสมมานี่ กับความรู้สึกตัวตอนที่จะได้ผลลัพธ์นี่ก็เป็นความรู้ตัวเหมือนกันนั่นเอง หน้าที่เราคือเต็มน้ำไม่ใช่จ้องว่าเมื่อไหร่น้ำจะเต็มเสียทีไม่มีประโยชน์อะไร



ขอให้เข้าใจเป้าหมายของการปฏิบัติของเราก็คือการลดความยึดถือกายและจิต ลดอัตตาตัวตนลง ไม่ได้ทำไปเพื่อสิ่งใด ถ้าปฏิบัติแล้วมานะตัวตนเพิ่มขึ้น เรียกว่าปฏิบัติธรรมแบบกิเลสหนังไม่ถลอกเลย



การปฏิบัติเพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ ในกายและใจของเรานี่เอง คือเห็น อนิจจัง (เกิดดับ) ทุกขัง(แปรเปลี่ยน) อนัตตา(บังคับไม่ได้ เป็นไปตามเหตุปัจจัย) ทีนี้ ในอนิจจังก็เกิดมีทุกขัง มีอนัตตา อยู่ด้วย ในทุกขังก็มีอนิจจัง มีอนัตตา ในอนัตตาก็มีทุกขังมีอนัตตา การเห็นสิ่งใดก่อนก็จะเห็นอีกสองสิ่งที่เหลือ เพียงแต่เราจะเห็นลักษณะใดๆที่เด่นก่อนแค่นั้น



การหายใจในขณะนั่งสมาธิ ให้หายใจเหมือนกับหายใจธรรมดา ซึ่งเราไม่เคยรู้สึกว่าหนักอึดอัดแต่อย่างไร ก็หายใจไปแล้วก็ดูว่าจิตเป็นอย่างไร ฟุ้งซ่าน คิดไปแล้ว สงบแล้ว ฟุ้งซ่านขึ้นมาอีกแล้ว ทั้งเดินและนั่งก็ควรทำเป็นการซ้อมในรูปแบบทำให้จิดมีกำลังขึ้นมา



การดูความโกรธแล้วความโกรธก็ไม่หาย เปรียบเทียบการดูจิตเหมือนการจับนกในอากาศ นกบินมาเราเอามือขึ้นจับ โอกาศจับได้ก็มี โอกาศจับไม่ได้ก็มี



ในการปฏิบัตินั้น เราจะดูได้ไม่เหมือนกัน บางวันที่ใจตั้งมั่นก็ดูจิตไปเลย วันไหนไม่มีแรงก็ดูกาย ถ้าทำอะไรไม่ได้เลย ทำสมถะ ทำในรูปแบบ ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลยครับ อ้อ มีพี่แนะนำว่าถ้าทำอะไรไม่ได้ เอานิ้วโป้งขยี้นิ้วชี้วนๆเบาๆ ก็ทำให้เรียกความรู้สึกได้ในวันที่ดูอะไรไม่ได้เลย



จบความจำที่จำมาได้แล้ว ที่เหลือก็ให้ใช้ความสังเกตในการปฏิบัติกันเองนะขยันเติมน้ำลงในขวดนะครับ ^^



อิกคิว เรียบเรียง
ทุกข์เป็นเหตุให้เกิดศรัทธา.... ศรัทธาเป็นเหตุให้เกิดความปีติปราโมทย์.... ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความสุข.... และความสุขเป็นเหตุ.... ให้จิตเข้าถึงความสงบได้

yuwa

อนุโมทนากับคุณหมออิกคิว
และอุ๊กที่กำลังจะไปปฏิบัติธรรม
กลับมาแล้วมาเล่าสู่กันฟังแบบพี่หมอบ้างนะคะ
หรือจะมาเล่าเป็นกลอนก็ได้จ้ะ
บุญรักษานะจ้ะ _/|\_



wanrawee

คุณเพือนจะไปปฎิบัติธรรมเหรอคะ...
อนุโมทนาด้วยค่ะ....

คิดถึงมากๆ นะคะ.....ไว้ว่างๆโทรหาค่ะ ::m32::

wanrawee

อ้อ..ลืมเล่าไปค่ะช่วงนี้เราไม่โกรธใครค่ะ....
เพราะใจมัวฝักใฝ่กับงานใหม่...

แต่เราเริ่มนั่งสมาธิก่อนนอนแล้ว..
แต่ยังทำไม่ได้ทุกวัน...เอาใจช่วยเราด้วยนะ บ๊ายบาย ::115::

poonsri

อนุโมทนาบุญกับน้องอุ๊กด้วยนะ _/|\_
กลับมาแล้วก็เล่าสู่กันฟังบ้างนะจ๊ะ
::33:: ::33:: ::33::

yuwa

มาปูเสื่อรออนุโมทนาบุญอ้วนๆจ้ะอุ๊ก _/|\_
ไปเจอพี่Angelมาแล้ว
คราวหน้าคงได้เจออุ๊กฝนและคนอื่นๆด้วยนะ
การปฏิบัติเป็นอย่างไรบ้าง
อ้ะ เล่าค่ะเล่า เรื่องดีๆต้องแบ่งปัน

Angel

 ::01:: น้องอุ๊กจ๋า พี่หลิงเข้ามาอนุโมทนาบุญกับน้องอีกครั้งค่ะ

และรอน้องอุ๊กเล่าผลการไปปฏิบัติธรรม 9 วันที่ผ่านมาว่าเป็นยังไงบ้าง

ถ้าน้องอุ๊ก clear งานเสร็จแล้ว เข้ามา update ให้เพื่อนๆ ฟังบ้างนะจ๊ะ

หวังว่าเราจะได้เจอกันอีกนะ

บุญรักษาจ๊ะ

พิมพ์พลอย

 ::33:: กลับมาแล้วค่ะ ตั้งแต่วันอาทิตย์
ช่วงนี้เป็นช่วงเคลียร์งานทางโลก .. ซึ่งมากมาย
เอาไว้จะมาเล่าให้ฟังนะคะ

ขอบคุณทุกๆ คนที่เข้ามาให้กำลังใจและอนุโมทนาบุญค่า
ขอส่งบุญอ้วนๆ สว่างๆ กลับไปให้ทุกท่าน 3 เท่าตัวเล้ย ..  ::115::

::33:: รดน้ำดอกไม้กันด้วยนะคะ  ::33::
http://twitter.com/pitaploy
http://www.facebook.com/pitaploy
http://www.facebook.com/piimplloy

I'm just the one who has various dreams, trying to learn how to live this miracle life worthily and find the way to end the cycle of birth and death.

admin


yuwa

 _/|\_อนุโมทนาค่ะอุ๊ก
รีบเคลียร์งานนะจ้ะ
และหวังว่าเราจะได้เจอกันเช่นกัน(กับพี่Angel) ::115::
::33::

Go Up