จะระวังคำพูดของตัวเองที่เป็นวจีกรรมค่ะ

Started by kanomchan, July 17, 2009, 12:08:36 pm

previous topic - next topic
Go Down

kanomchan

ปกติจะถือศีล5 อยู่แล้วแต่อยากถือให้ละเอียดมากขึ้นค่ะ และรู้ตัวดีว่าข้อ4 มีเว้นการพูดส่อเสียดและไร้สาระ เพ้อเจ้อด้วย ซึ่งศีลจจะขาดบ่อยเพราะเรื่องพวกนี้ ทำให้คนใกล้ชิดเสียใจเพราะคำพูดที่เราไม่ทันคิดก่อนพูดเยอะ เลยตั้งใจจะงดเว้นค่ะ อนุโมทนากับทุกท่านด้วยนะค่ะ _/|\_

sittnn

อนุโมทนาครับ ขอให้สำเร็จดั่งที่ตั้งใจหวังไว้นะครับผม  _/\_ ::01:: ::33::
-- เมตตาคือไมตรี --


admin

อนุโมทนาด้วยนะครับ  _/\_

แอบเอาบท บอกอ ของพี่กลางชลมาฝากไว้เป็นกำลังใจให้ด้วยครับ  ::115::

________________________________________________
ในการการพูดตรง เรายังมี "ทางเลือก" ในการสรรหาคำพูด และวิธีพูดอีกมากมาย
และก็ไม่ได้แปลว่าต้อง ครับผม คะขา โอ้โลม พูดจาภาษาดอกไม้กันเสมอไปนะคะ
แต่ยังมีกลวิธีและคำพูดอีกมากมาย ที่สะกิดใจกันได้ โดยไม่ฝากรอยร้าวให้แก่กัน

สังคมไทยเรา อย่างไรก็เป็นสังคมถ้อยทีถ้อยอาศัยนะคะ ถนอมน้ำใจกันไว้
คิดถึงใจเขาใจเรา เราไม่อยากได้ยินคำพูดแบบใด ก็งดการใช้คำพูดแบบนั้นกับคนอื่น
ขยายขอบข่ายของความรู้สึกเรา สวมหัวใจ นึกถึงความรู้สึกของคนรอบข้างอีกสักนิด

เคยได้ยินกับตัวเองนะคะ คำพูดที่เจือการกดข่มผู้ฟังอยู่เป็นนัย ๆ อย่างเช่น

"ขอโทษนะ พูดตรง ๆ จบปริญญาโทมา ไม่น่าถามคำถามแบบนี้
ระดับการศึกษาน่าจะช่วยให้คนคิดได้ ไม่ได้ดูถูก แต่ฟังแล้วรู้สึกเป็นห่วงชาติจริง ๆ"

"ถ้ามองความหวังดีของชั้นไม่ออกก็ตามสบาย จะพัฒนาตัวเองก็น่าจะต้องรับคำวิจารณ์ได้
เสียเวลาเอาเวลาอันมีค่ามาแนะนำให้คนไม่เห็นคุณค่า เซ็ง..."

ถ้าสวมวิญญาณคนฟัง ก็คงพอเดากันได้นะคะว่าคนฟังจะรู้สึกอย่างไร
คำหลายคำ พูดออกไปแล้วอาจไม่ได้มีประโยชน์ต่อการติเพื่อก่อแต่อย่างใดเลย

และเพราะคำพูดนั้นเป็นสิ่งที่ปรุงออกมาจากจิต
หากเราหมั่นตั้งต้นที่พื้นฐานของ "ความเมตตา" ต่อผู้อื่นอยู่เสมอ ๆ แล้ว
เราก็จะค่อย ๆ ฉลาดในการค้นพบวิธีพูดและคำพูดที่สร้างสรรค์ได้เองค่ะ : )

แม้พระพุทธเจ้าท่านก็ได้ตรัสสอนถึงวิธีการใช้วาจาไว้ใน อภัยราชกุมารสูตร
ซึ่งนับเป็นหลักการพูดชั้นยอดเลยทีเดียวนะคะ มีใจความโดยสรุป ดังนี้ค่ะ

๑. วาจาใดไม่จริง ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
พระพุทธองค์ไม่ตรัสวาจานั้น

๒. วาจาใดจริง แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
พระพุทธองค์ไม่ตรัสวาจานั้น

๓. วาจาใดจริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ แต่ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
พระพุทธองค์ย่อมรู้จักกาลอันควรหรือไม่ควรที่จะตรัสวาจานั้น

๔. วาจาใดไม่จริง ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
พระพุทธองค์ไม่ตรัสวาจานั้น

๕. วาจาใดจริงแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
พระพุทธองค์ไม่ตรัสวาจานั้น

๖. วาจาใดจริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
พระพุทธองค์ย่อมรู้จักกาลอันควรหรือไม่ควรที่จะตรัสวาจานั้น

สังเกตไหมคะว่า ท่านจะเลือกกล่าวก็เฉพาะวาจาที่ จริง และมีประโยชน์ เท่านั้นเป็นพื้น
แต่แม้จะจริงแล้ว มีประโยชน์แล้ว บางอย่างก็อาจถูกใจผู้ฟัง บางอย่างผู้ฟังก็อาจไม่ชอบใจ
แต่หากมีเหตุอันควรให้พูด พระพุทธองค์ท่านก็ยังให้ รู้จักเลือกพูดในกาลอันเหมาะสม

บางคนอาจนึกโอดโอย โห... ก็พูดก็เม้าท์กันทั้งวันอย่างนี้ ใครจะไปทันตรองทุกคำที่พูดได้เล่า
แม้จะไม่ถึงกับต้องคาดหวังว่าเราจะคิด ๆ ๆ ก่อนพูด ๆ ๆ ได้ทุกคำ
แต่อุปกรณ์ที่จะช่วยเราได้ดีที่สุด และบ่อยที่สุดชิ้นหนึ่ง ก็คือ "สติ" นี่ล่ะค่ะ
สติ หรือความระลึกได้ ที่เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ
จะช่วยให้เรารู้ทันความเคลื่อนไหวในจิตใจของเราเอง
ถ้าดักอีโก้ ดักโทสะ ดักความหลง ดักคำพูดร้าย ๆ นั้นได้ตั้งแต่เพิ่งก่อร่างสร้างตัวอยู่ในใจ
คำพูดที่เราจะ "เลือก" พูดออกไป ก็ย่อมมีโอกาสเป็นไปในทางสร้างสรรค์กว่ากันแน่นอน

"น้ำผึ้งหวาน ๆ เอามาใช้ปรุงทานกันให้ชื่นใจดีกว่านะคะ
อย่าเอาไปใช้อาบมีดโกนกรีดกันเลย : )"




narakdharma

อนุโมทนา สาธุ ด้วยค่ะ

เราก็จะตั้งใจทำในเรื่องนี้อยู่พอดีค่ะ เป็นกำลังใจให้นะคะ  ::01::

kanomchan

ขอบคุณทุกคนนะค่ะ ที่เป็นกำลังใจให้ รักษาคำพูดได้บ้างไม่ได้บ้างแต่เริ่มต้นใหม่ทุกวันค่ะ

Go Up